โครงการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัย
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัย |
รหัสโครงการ | 67-L1523-2-17 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านห้วยไทร |
วันที่อนุมัติ | 5 มีนาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 16 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2567 |
งบประมาณ | 13,523.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงเรียนบ้านห้วยไทร |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวศศิมา โสะสะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.559,99.465place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การจัดการศึกษาปฐมวัย เป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับแรก เพื่อพัฒนาผู้เรียน ที่สังคมต้องการ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ.2545 มาตรา 6 ที่ว่า “การจัดการศึกษาต้องเป็นไป เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” อีกทั้งตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ นักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยไทร ส่วนใหญ่พ่อแม่เลิกร้าง จึงอาศัยอยู่กับปู่ย่า ตายาย และผู้ปกครองของเด็กมีรายได้น้อยต้องมุมานะทำงาน ไม่ได้ใส่ใจเด็กเท่าที่ควร ทำให้ร่างกาย เด็กไม่เจริญสมบูรณ์ อารมณ์ไม่ร่าเริงแจ่มใสตามวัยและขาดทักษะประสบการณ์ในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข จากการประเมินพัฒนาการเด็กประถมวัยของโรงเรียนบ้านห้วยไทร ปีการศึกษา 2565 มีผลการประเมินอยู่ในระดับ พอใช้ ดังนั้น ในวัยของเด็กที่เรียนในระดับปฐมวัย เป็นช่วงระยะที่สำคัญของชีวิต ทั้งนี้เพราะเซลล์สมองของมนุษย์จะเจริญเติบโตและพัฒนาในวัยนี้ ฉะนั้นการที่เด็กได้รับการพัฒนาการศึกษาที่ถูกต้อง จึงนับได้ว่าเป็นการกระตุ้นอันจะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กเจริญเติบโตเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาประเทศชาติสืบไป จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 2.1.1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพพ่อแม่หรือผู้ปกครองให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมและประเมินพัฒนาการ เด็กปฐมวัย 2.1.2 เพื่อให้เด็กปฐมวัย ได้รับการคัดกรองพัฒนาการเบื้องต้น และประเมินพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย 2.2.1 ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2.2.2 ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการได้รับการคัดกรองพัฒนาการเบื้องต้น และประเมินพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 100 | 13,523.00 | 0 | 0.00 | 13,523.00 | |
16 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมสัปดาห์แห่งพัฒนาการเด็กปฐมวัย | 50 | 7,550.00 | - | - | ||
16 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมตรวจประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย | 50 | 5,973.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 100 | 13,523.00 | 0 | 0.00 | 13,523.00 |
1 ระยะเตรียมการดำเนินโครงการ
- ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
- ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
- กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
- เขียนโครงร่างโครงการ
- ขออนุมัติโครงการ
2 ระยะดำเนินโครงการ
ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ก่อนเข้าร่วมโครงการ โดยใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย หากสงสัยพัฒนาการล่าช้าให้ส่งพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อคัดกรอง
- ดำเนินกิจกรรมตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมสัปดาห์แห่งพัฒนาการเด็กปฐมวัย เพื่อกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการพัฒนา การเด็ก โดย
- การแสดงนิทรรศการด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยความร่วมมือของหน่วยงาน ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และภาคประชาชน
- จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่พ่อแม่หรือผู้ปกครอง ผ่านการจัดทำวิดีโอและคู่มือ โดยกำหนดเนื้อหา ดังนี้
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย
- การกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัย
- การประเมินและคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยเบื้องต้น
- ความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย
กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมตรวจประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
- กิจกรรมฐานการเรียนรู้ ศิลปะเด็กปฐมวัย
- กิจกรรมฐานการเรียนรู้ กีฬาและนันทนาการ
- กิจกรรมฐานการเรียนรู้ การทดลองบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
- กิจกรรมฐานการเรียนรู้ นิทานคุณธรรมเสริมพัฒนาการ
3.1ระยะประเมินผล
ประเมินพัฒนาการหลังจัดกิจกรรม โดยใช้แบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
7.1 นักเรียนระดับปฐมวัยได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ให้มีพัฒนาการอยู่ในระดับ ดี ขึ้นไป 7.2 นักเรียนปฐมวัย ได้รับการประเมินและกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2567 09:57 น.