กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการส่งเสริมความรู้ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2567 ”
ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง



หัวหน้าโครงการ
หัวหน้าสำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลกันตังใต้




ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรู้ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2567

ที่อยู่ ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 67- L1460-01-10 เลขที่ข้อตกลง 12/2567

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2567 ถึง 20 กันยายน 2567

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมความรู้ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2567 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กันตังใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมความรู้ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2567



บทคัดย่อ

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเกิดจากปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกันหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นประเพณีวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ความยากจน การขาดโอกาสด้านการศึกษา การมีเพศสัมพันธ์จากอิทธิพลของการใช้แอลกอฮอล์และสารเสพติด การไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ การขาดความรู้ ความเข้าใจในการคุมกำเนิด การใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ไม่ถูกต้อง การถูกล่วงละเมิดทางเพศรวมถึงการข่มขืน ถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์และความรุนแรงในครอบครัวซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญคือ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เพราะถ้าหากวัยรุ่นกลุ่มนี้มีการตั้งครรภ์ปัญหาที่พบตามมาคือ ต้องหยุดหรือออกจากการศึกษา ส่งผลกระทบให้ประเทศขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ เกิดปัญหาบุตรที่ไม่ต้องการและนำไปสู่การลักลอบทำแท้งมากขึ้น เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเอชไอวี เป็นภาระทางเศรษฐกิจเรื่องค่ารักษาพยาบาลขณะตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการเลี้ยงดูบุตร เนื่องจากไม่มีงานทำ
    การตั้งครรภ์และการคลอดในวัยรุ่นส่งผลกระทบต่อทุกมิติของชีวิตเด็กและครอบครัว และยังส่งผลกระทบข้ามรุ่นสู่ลูกที่เกิดมา (Intergenerational Impact) ซึ่งมีหลักฐานสนับสนุนว่าบุตรสาวของแม่วัยรุ่นมีโอกาสตั้งครรภ์และกลายเป็นแม่วัยรุ่นสูงถึงร้อยละ 33 สำหรับบุตรสาวที่เกิดจากแม่อายุ 17 ปีหรือน้อยกว่า และร้อยละ 17 สำหรับบุตรสาวที่เกิดจากแม่อายุ 18 - 19 ปี เปรียบเทียบกับร้อยละ 11 กรณีบุตรสาวที่เกิดจากแม่อายุ 20 ปีหรือมากกว่า จะตั้งครรภ์ในวัยรุ่น     ปัจจุบันพื้นที่ตำบลกันตังใต้มีวัยรุ่นจำนวนมาก และพบว่าวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์มีอายุน้อยลง สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลกันตังใต้จึงเห็นความสำคัญในด้านการให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการป้องกันพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง โรคติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ ตลอดจนการดูแลและป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเกิดจากปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกันหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นประเพณีวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ความยากจน การขาดโอกาสด้านการศึกษา การมีเพศสัมพันธ์จากอิทธิพลของการใช้แอลกอฮอล์และสารเสพติด การไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ การขาดความรู้ ความเข้าใจในการคุมกำเนิด การใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ไม่ถูกต้อง การถูกล่วงละเมิดทางเพศรวมถึงการข่มขืน ถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์และความรุนแรงในครอบครัวซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญคือ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เพราะถ้าหากวัยรุ่นกลุ่มนี้มีการตั้งครรภ์ปัญหาที่พบตามมาคือ ต้องหยุดหรือออกจากการศึกษา ส่งผลกระทบให้ประเทศขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ เกิดปัญหาบุตรที่ไม่ต้องการและนำไปสู่การลักลอบทำแท้งมากขึ้น เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเอชไอวี เป็นภาระทางเศรษฐกิจเรื่องค่ารักษาพยาบาลขณะตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการเลี้ยงดูบุตร เนื่องจากไม่มีงานทำ
    การตั้งครรภ์และการคลอดในวัยรุ่นส่งผลกระทบต่อทุกมิติของชีวิตเด็กและครอบครัว และยังส่งผลกระทบข้ามรุ่นสู่ลูกที่เกิดมา (Intergenerational Impact) ซึ่งมีหลักฐานสนับสนุนว่าบุตรสาวของแม่วัยรุ่นมีโอกาสตั้งครรภ์และกลายเป็นแม่วัยรุ่นสูงถึงร้อยละ 33 สำหรับบุตรสาวที่เกิดจากแม่อายุ 17 ปีหรือน้อยกว่า และร้อยละ 17 สำหรับบุตรสาวที่เกิดจากแม่อายุ 18 - 19 ปี เปรียบเทียบกับร้อยละ 11 กรณีบุตรสาวที่เกิดจากแม่อายุ 20 ปีหรือมากกว่า จะตั้งครรภ์ในวัยรุ่น     ปัจจุบันพื้นที่ตำบลกันตังใต้มีวัยรุ่นจำนวนมาก และพบว่าวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์มีอายุน้อยลง สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลกันตังใต้จึงเห็นความสำคัญในด้านการให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการป้องกันพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง โรคติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ ตลอดจนการดูแลและป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียน ได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
  2. 2. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เอชไอวี (HIV) ซิฟิลิส เป็นต้น ฯลฯ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ
  2. กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินการ
  3. กิจกรรมที่ 3 สรุปผลและประเมินผลโครงการ
  4. ๑. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ สื่อสาธิต ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ๒. จัดทำคู่มือความรู้ แก่นักเรียนที่เข้าอบรม
  5. 2.1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการฯ จำนวน 4 ชั่วโมง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กและเยาวชนมีทักษะและภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศลดความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
2. เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง การป้องกันโรคติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

องค์การบริหารส่วนตำบลกันตังใต้ ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกันตังใต้ จำนวน 17,560 บาท โดยได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมความรู้ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
ปี 2567 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ณ โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม จำนวน 70 คน มีนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เข้ารับการอบรม จำนวน 51 คน มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และครูโรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยมเข้าร่วมรับฟังการอบรม พบว่ากลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมมีทักษะและภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศลดความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง การป้องกันการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
บรรลุตามวัตถุประสงค์
งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ ..................17,560.00 บาท........ งบประมาณเบิกจ่ายจริง ..................15,460.00 บาท........ คิดเป็นร้อยละ.....88.04... งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ ............................2,100 บาท......... คิดเป็นร้อยละ.....11.96… มีรายละเอียดการเบิกจ่าย ดังนี้ 1. จัดจ้างทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.20 x 2.80 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 500.00 บาท 2. จัดจ้างทำเอกสารในการอบรม จำนวน จำนวน 58 ชุดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,740.00 บาท 3. จัดซื้อสมุดโน้ต จำนวน 58 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 580 บาท
4. จัดซื้อปากกา จำนวน 58 ด้ามๆละ 5 บาท เป็นเงิน 290 บาท
5. จัดซื้อกระเป๋าใส่เอกสารการอบรม จำนวน 58 ใบๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2,320 บาท
6. ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 1 คน จำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท 7. จัดซื้อสื่อ-อุปกรณ์สาธิต ในการอบรม จำนวน 1 ชุดๆละ 700 บาท เป็นเงิน 700 บาท
8. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 1 มื้อ ๆละ 30 บาท จำนวน 77 คน เป็นเงิน 2,310 บาท 9. ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 1 มื้อ ๆละ 60 บาท จำนวน 77 คน เป็นเงิน 4,620 บาท รวมงบประมาณที่ใช้ไปทั้งสิ้น 15,460 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันสี่ร้อยหกสิบบาทถ้วน) ปัญหา/อุปสรรค โรงเรียนแจ้งกลุ่มเป้าหมายมาไม่ชัดเจน โดยแจ้งจำนวนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร่วมกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน เป็นเหตุให้จำนวนกลุ่มเป้าหมายไม่ครบตามที่กำหนดไว้
แนวทางการแก้ไข ต้องประสานงานให้ชัดเจนก่อนการนำเสนอโครงการเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายและการจัดสรรงบประมาณ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียน ได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
ตัวชี้วัด : 1.นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

 

2 2. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เอชไอวี (HIV) ซิฟิลิส เป็นต้น ฯลฯ
ตัวชี้วัด : 2.นักเรียนมีความตระหนักในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เอชไอวี (HIV) ซิฟิลิส เป็นต้น ฯลฯ

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 70 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70 51
กลุ่มวัยทำงาน 0 29
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 0
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเกิดจากปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกันหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นประเพณีวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ความยากจน การขาดโอกาสด้านการศึกษา การมีเพศสัมพันธ์จากอิทธิพลของการใช้แอลกอฮอล์และสารเสพติด การไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ การขาดความรู้ ความเข้าใจในการคุมกำเนิด การใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ไม่ถูกต้อง การถูกล่วงละเมิดทางเพศรวมถึงการข่มขืน ถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์และความรุนแรงในครอบครัวซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญคือ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เพราะถ้าหากวัยรุ่นกลุ่มนี้มีการตั้งครรภ์ปัญหาที่พบตามมาคือ ต้องหยุดหรือออกจากการศึกษา ส่งผลกระทบให้ประเทศขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ เกิดปัญหาบุตรที่ไม่ต้องการและนำไปสู่การลักลอบทำแท้งมากขึ้น เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเอชไอวี เป็นภาระทางเศรษฐกิจเรื่องค่ารักษาพยาบาลขณะตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการเลี้ยงดูบุตร เนื่องจากไม่มีงานทำ
    การตั้งครรภ์และการคลอดในวัยรุ่นส่งผลกระทบต่อทุกมิติของชีวิตเด็กและครอบครัว และยังส่งผลกระทบข้ามรุ่นสู่ลูกที่เกิดมา (Intergenerational Impact) ซึ่งมีหลักฐานสนับสนุนว่าบุตรสาวของแม่วัยรุ่นมีโอกาสตั้งครรภ์และกลายเป็นแม่วัยรุ่นสูงถึงร้อยละ 33 สำหรับบุตรสาวที่เกิดจากแม่อายุ 17 ปีหรือน้อยกว่า และร้อยละ 17 สำหรับบุตรสาวที่เกิดจากแม่อายุ 18 - 19 ปี เปรียบเทียบกับร้อยละ 11 กรณีบุตรสาวที่เกิดจากแม่อายุ 20 ปีหรือมากกว่า จะตั้งครรภ์ในวัยรุ่น     ปัจจุบันพื้นที่ตำบลกันตังใต้มีวัยรุ่นจำนวนมาก และพบว่าวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์มีอายุน้อยลง สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลกันตังใต้จึงเห็นความสำคัญในด้านการให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการป้องกันพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง โรคติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ ตลอดจนการดูแลและป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมความรู้ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2567 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 67- L1460-01-10

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( หัวหน้าสำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลกันตังใต้ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด