กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชมรม อสม.ร่วมใจ ป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 67-L8330-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลลำภูรา
วันที่อนุมัติ 2 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 41,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวดรรชนี แต้มเฒ่า
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.698,99.583place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไขข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมีแนวโน้มทวีความรุนแรงของการระบาดเพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง ไข้เลือดออกเป็นโณคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรคและนอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆที่มียุงเป็นพาหะ เช่น ชิคุณกุนยา ไข้ซิกา ยุงลายตัวเมียกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง หากยุงกัดในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเด็กปละปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเกิดโรคกับผู้สูงใหญ่และมีจำนวนมากขึ้นทุกปี โรคนี้มักจะระบาดในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือนและโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น รถยนต์ จานรองขาตู้กับข้าว ทั้งนี้ สามารถอธิบายได้ว่ามีความชุกชมของลูกน้ำยุงลายมีค่อนข้างสูงทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท อันเนื่องมาจากการจัดการด้านสุขาภิบาลไม่ดี อีกทั้งในแต่ละชุมชนมีการอพยพย้ายถิ่นฐานของประชาชน ทำให้เกิดการถ่ายเทของเชื้อไวรัส จึงทำให้ชุมชนมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบาด นอกจากนั้น หากทุกพื้นที่ไม่เห็นความสำคัญของการควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องและครอบคลุม ขาดความร่วมมือจากประชาชนและขาดการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็จะไม่สามารถที่จะดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ให้สงบ เขตพื้นที่เทศบาลตำบลลำภูรา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าพบอัตราการรเกิดโรคไข้เลือดออกทุกปี ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โณงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ไข้เลือดออกพบได้ต่อเนื่องในตำบลลำภูราเกือบทุกปี แต่ยังไม่พบความรุนแรงในพื้นที่ เนื่องจากได้มีการรณรงค์ป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องทุกปี ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลลำภูรา จึงเห็นความจำเป็นและความสำคัญที่จะต้องดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมในเขตเทศบาลตำบลลำภูรา จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกเทศบาลตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลลำภูรา

ไม่พบผู้ป่วยรายต่อไปใน 28 วัน หลังจากพบผผู้ป่วยรายแรกในหมู่บ้านนั้น

2 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในเขตเทศบาลตำบลลำภูรา

ค่า HI ไม่เกินร้อยละ 10 ค่า CI เท่ากับ 0

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมุล แจ้งสถานการณ์โรคแก่ชุมชน 2.จัดเตรียมทรัพยากรต่างๆที่ใช้ในการดำเินงาน 3.จัดอบรม กลุ่มเป้าหมาย เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดในพื้นที่โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 4.จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกัน ควบคุม ไข้เลือดออก 3 ครั้ง 4.1 ก่อนการระบาด
-ประชาสัมพันธ์ตามหมู่บ้าน/อบต. -ประชาสัมพันธ์โดยรถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ -สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและสรุปค่าดรรชนี้ยุง -แจกทราบอะเบทฆ่าลูกน้ำยุงลาย(รับสนับสนุนจากเทศบาลตำบลลำภูรา) 4.2 ระยะระบาด -ประชาสัมพันธ์สถานการณ์โรคในชุมชน/ประชาสัมพันธ์โดยรถประชาสัมพันธ์ -สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและสรุปค่าดรรชนี -ประสาน อบต.พ่นหมอกคัวนทุกหลังคาครัวเรือนเพื่อควบคุมโรค แจกทรายอะเบทฆ่าลูกน้ำยุงลาย (รับสนับสนุนจากเทศบาลตำบลลำภูรา) -เฝ้าระวัง ค้นหาผู้ป่วยที่มีไข้ มากกว่า 3 วัน แนะนำไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย 4.3 พบผู้ป่วย -ร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ลำภูราสอบสวนโรคทันทีที่รับแจ้งว่าพบผู้ป่วย เพื่อค้นหาแหล่งรังโรค -สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในระแวกบ้าน ผู้ป่วยและบ้านในรัสมีระยะ 100 เมตร เพื่อป้องกันควบคุมการรระบาดของโรค สำรวจเฝ้าระวังผู้ป่วยรายใหม่ไม่ให้มีผู้ป่วยรายต่อไปใน 28 วัน หลังจากมีผู้ป่วยรายแรกในหมู่บ้านนั้น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลลำภูรา 2.เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในเขตเทศบาลตำบลลำภูรา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2567 09:20 น.