กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ Pregnancy prevention (ป้องกันใว้ก่อน)
รหัสโครงการ 67-L8330-2-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนลำภูราเรืองวิทย์
วันที่อนุมัติ 2 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,210.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัยวุฒิ ยอดสง่า
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.698,99.583place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 27,210.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 27,210.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 333 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมอนามัยนิยามคำว่าวัยรุ่น คือ บุคคลที่มีอายุเกิน 10 ปี เเต่ไม่ถึง 20 ปี และสามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 กลุ่ม คือวัยรุ่นตอนต้น อายุ 10-14 ปี และวัยรุ่นตอนปลาย อายุ 15-19 ปี สำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ร้อยละ 50 ของวัยรุ่นกลุ่มอายุ 16-17 ปี ที่ตั้งครรภ์นั้น 'ตั้งใจให้ตัวเองท้อง ' ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งตอบว่า 'ไม่ตั้งใจ' ดังนั้นเป็นเรื่องที่อธิบายได้ยากว่าความพร้อมของวัยรุ่น นั้นเอาอะไรมาวัด เพราะการรับรู้ของเเต่ละคนต่างกัน ข้อมูลที่น่าสนใจจากสถิติอัตราการคลอดบุตรของวัยรุ่นไทยทั้งตอนต้นและตอนปลาย เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลโดย สำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546-2563 พบว่า ตั้งแต่ปี 2546-2555 อัตราการคลอดบุตรของวัยรุ่นนั้นมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อายุ 10- 14 ปี พบว่าในจำนวนประชากร 1000 คนจะพบวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตรประมาณ 2 คน อายุ 15-19 ปี พบว่าในจำนวนประชากร 1000 คนจะพบวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตรประมาณ 54 คน การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น ทั้งนี้เกิดจากวัยรุ่นบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องเพศศึกษา ประกอบกับขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสมจากครอบครับ รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการมีเพศสัมพันธ์ ที่ไม่ปลอดภัย การขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตนเอง จึงอาจส่งผงให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆตามมา ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โรงเรียนลำภูราเรืองวิทย์ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ใขปัญหาดังกล่าว จึงได้จักทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่นักเรียนโรงเรียนลำภูราเรืองวิทย์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์และผลกระทบของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 2. เพื่อให้ความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 3. เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวงรอบ 1 ปี
  1. แบบทดสอบ 2.แบบสังเกตุพฤติกรรม 3.อัตราการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวงรอบ 1 ปี ลดลง
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เขียนโครงการ 2.ขออนุมัติโครงการจากประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลำภูรา 3.ติดต่อวิทยากรในการอบรมให้ความรู้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำภูรา 4.จัดเตรียมสถาณที่ฝึกอบรม วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ 5.ดำเนินการอบรมให้ความรู้ 6.ประเมินผลการจัดกิจกรรม 7.ติดตามผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนมีความรู้เรื่องการตั้งครรภ์และผลกระทบของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 2.นักเรียนมีความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 3.มีการลดอัตราการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวงรอบ 1 ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2567 10:46 น.