กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสารวัตรปราบลูกน้ำยุงลาย
รหัสโครงการ 67-L5226-5-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลระโนด
วันที่อนุมัติ 15 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 17,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอกนิษฐ์ ประสานสงค์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวสุทิศา แก้วจันทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.754,100.325place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 ก.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 17,050.00
รวมงบประมาณ 17,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยมาตลอด เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิต รายได้ของครอบครัว ทั้งยังส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ในปัจจุบันไข้เลือดออกสามารถพบได้ในคนทุกกลุ่มอายุ นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายได้มีการดำเนินการเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมอย่างต่อเนื่อง แต่สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ยังคงมีการระบาดต่อเนื่องทุกปี และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ข้อมูลจากรายงานการเฝ้าระวังสถานการณ์โรคไข้เลือดออก เขต 12 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ประเทศไทย พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 41,902 ราย เสียชีวิต 37 ราย เขต 12 สงขลา พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 4,869 ราย (เพิ่มขี้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 258 ราย) คิดเป็น 0.99 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา อัตราป่วย 98.31 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตจํานวน 3 ราย (จังหวัดสงขลา 2 ราย และจังหวัดยะลา 1 ราย) การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายจังหวัดสูงสุดอยู่ที่จังหวัดสงขลา พบผู้ป่วย 2,045 ราย อัตราป่วย 145.64 ต่อประชากรแสน
ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นตำบลอันดับหนึ่งของอำเภอระโนด มีผู้ป่วยทั้งหมด 25 ราย(ข้อมูล ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2567) และมักพบผู้ป่วยส่วนใหญ่ในสถานศึกษา ซึ่งเป็นแหล่งรวมของคนจำนวนมาก ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคได้ง่าย และแพร่กระจายเป็นวงกว้าง นอกจากนี้จากข้อมูลการสำรวจค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย ในชุมชน พบว่า ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในเขตเทศบาลตำบลระโนด มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน (HI = 12.04) ซึ่งจากการสำรวจส่วนใหญ่พบลูกน้ำในภาชนะที่ไม่ใช้แล้ว เช่น แก้วพลาสติก ขวดน้ำที่ ไม่ปิดฝา ถังน้ำ ฯลฯ
จากปัญหาโรคไข้เลือดออกข้างต้น ชมรม อสม. ตำบลระโนด จึงได้จัดทำกิจกรรมโครงการสารวัตรปราบลูกน้ำยุงลาย เพื่อเริ่มปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุก โดยเน้นการมีส่วนร่วมให้นักเรียน ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา พร้อมทั้งสร้างแกนนำ สำหรับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในสถานศึกษา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ โรคไข้เลือดออก และการป้องกัน/ควบคุมโรคที่ถูกวิะีและเหมาะสม

นักเรียนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจโรคไข้เลือดออก และการป้องกัน/ควบคุมโรคที่ถูกวิธีเหมาะสม ร้อยละ 90

81.00
2 เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน

ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนเท่ากับ 0

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก(24 ก.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 17,050.00      
รวม 17,050.00
1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 90 17,050.00 0 0.00
25 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและการป้องกันไข้เลือดออกพิชิตยุงลาย 90 17,050.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน
  2. ครู นักเรียน ตระหนัก มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลาย จนเป็นกิจวัตรที่บ้าน โรงเรียน และชุมชน
  3. นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก วิธีการป้องกัน ควบคุมโรคโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ไปประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ผู้อื่นได้
  4. ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน เท่ากับ 0 (CI = 0)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2567 15:44 น.