กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการส่งเสริมโภชนาการแบบครบวงจรเด็กและผู้ปกครอง
รหัสโครงการ 67-L3340-03-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเเรียนบ้านควนหินแท่น
วันที่อนุมัติ 17 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กรกฎาคม 2567 - 16 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 39,645.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธีรเดช สุขบัวแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นายเสรี บุญรัศมี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกทราย อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.229,100.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (39,645.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 104 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 95 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ80ได้รับความรู้เกี่ยวกับโภชนาการตามวัย
80.00
2 ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องโภชนาการและการดูแลพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กได้อย่างเหมาะสม
80.00
3 นักเรียน ครู ผู้ปกครองตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของโภชนาการตามวัยที่เหมาะสม
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     การรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมและเพียงพอทำให้ทุกคนมีโภชนการดีและนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้าม หากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม จะทำให้เป็นโรคขาดสารอาหารหรือถ้ากินมากเกินไปก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน มีภาวะโภชนาการไม่สมวัย ร่างกายจำเป็นต้องนำสารอาหารที่มีประโยชน์ไปใช้ทำงานในระบบต่าง ๆ ให้มีความสมดุลและมีประสิทธิภาพ อาหารและโภชนการเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในทุก ๆ วัย ทั้งวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในวัยเด็ก ซึ่งเป็นวัยที่มีการวางรากฐานพัฒนาการ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นระยะแรกที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องได้รับการดูแลและเลี้ยงดูอย่างดีที่สุด เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเด็ก อาหารและโภชนาการที่ดี จีงเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ซึ่งเป็นปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็ก ได้แก่ ภาวะโภชนการไม่สมวัย มีปัญหาน้ำหนักไม่ตามเกณฑ์ ล้วนมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้องทั้งการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ได้แก่ ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม เด็กไม่ชอบรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ประเภท ผัก ผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจในการประกอบอาหารเพื่อสร้างแรงจูงใจให้อาหารน่ารับประทาน ดังนั้นเพื่อให้เด็กมีภาวะโภชนาการเหมาะสมตามวัย ต้องดูแลการบริโภคอาหารของเด็กอย่างเหมาะสมทั้งอยู่ที่บ้านและที่โรงเรียน กอปรสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการสื่อสาร เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการปลูกฝังให้เด็กมีทักษะชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีภาวะสุขภาพที่แข็งแรง มีพัฒนาการสมวัย และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ยังพบว่า เด็กอายุ 6-14 ปี สูงดีสมส่วนเพียงร้อยละ 62.5 (รายงานผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือน ปีงบประมาณ 2563, สำนักโภชนาการ) เป้าหมายกำหนดร้อยละ 66 โดยพบแนวโน้มเด็กเริ่มอ้วนและอ้วน ปี 2561 – 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7, 13.6 และ 13.1 ตามลำดับ เป้าหมายกำหนดไม่เกินร้อยละ 10 และภาวะเตี้ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.5, 8.9 และ 9.9 ตามลำดับ เป้าหมายกำหนดไม่เกินร้อยละ 5 (ข้อมูลระบบ Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข ณ 30 มิถุนายน 2563) สถานการณ์เขตสุขภาพที่ 7 พบว่าเด็กอายุ 6 – 14 ปีสูงดีสมส่วนร้อยละ 72.8 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายประเทศที่กำหนดไว้ร้อยละ 66 และเขตสุขภาพที่ 7 ร้อยละ 72 และเด็กเริ่มอ้วนและอ้วนร้อยละ 8.8 ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 10 แต่พบปัญหาเด็กเตี้ยมากถึงร้อยละ 7.8 ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 5 ปัจจัยที่ทำให้มีปัญหาทางโภชนาการส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ที่ไม่ถูกต้อง ทั้งปริมาณและสัดส่วนในแต่ละวัน มีการเคลื่อนไหวออกแรงน้อย รวมทั้งค่านิยมรับประทานอาหาร เลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตก ชอบรับประทานอาหารปรุงสำเร็จ หรืออาหารจานด่วนที่ประกอบด้วยไขมัน และน้ำตาลสูง (สำนักงานสถิติ, 2557)
    ดังนั้น โรงเรียนจึงจัดโครงการอบรมเชิงปฎิบัตการส่งเสริมโภชนาการแบบครบวงจรเด็กและผู้ปกครองนี้เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง เรื่อง โภชนาการและการดูแลพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กอย่างเหมาะสม มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพในครอบครัวและโรงเรียน รวมถึงเกิดความร่วมมือระหว่างบุคลากรด้านสาธารณสุข บุคลากรด้านการศึกษาและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ซึ่งส่งผลให้ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านควนหินแท่น มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถจัดการปัญหาสุขภาพของตนเอง ตลอดจนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เติบโตสมวัย เป็นผู้ใหญ่ ที่มีคุณภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับโภชนาการตามวัยที่เหมาะสม

นักเรียนร้อยละ 80 ได้รับความรู้เกี่ยวกับโภชนาการตามวัยที่เหมาะสม

80.00
2 2 เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง เรื่อง โภชนาการและการดูแลพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กอย่างเหมาะสม

ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง โภชนาการและการดูแลพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กอย่างเหมาะสม

80.00
3 3 เพื่อให้นักเรียน ครู ผู้ปกครองตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของโภชนาการตามวัยที่เหมาะสม

นักเรียน ครู ผู้ปกครองตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของโภชนาการตามวัยที่เหมาะสม

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 อบรมให้ความรู็(15 ก.ค. 2567-16 ก.ย. 2567) 39,645.00      
รวม 39,645.00
1 อบรมให้ความรู็ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 201 39,645.00 0 0.00
15 ก.ค. 67 - 16 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู็ 201 39,645.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนโรงเรียนบ้านควนหินแท่น มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เติบโตสมวัย
  2. เกิดการพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพในครอบครัวและโรงเรียนบ้านควนหินแท่น
  3. เกิดความร่วมมือระหว่างบุคลากรด้านสาธารณสุข บุคลากรด้านการศึกษาและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกัน
  4. ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านควนหินแท่น มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถจัดการปัญหาสุขภาพของตนเองพร้อมรองรับสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ตลอดจนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เติบโตสมวัย เป็นผู้ใหญ่ ที่มีคุณภาพต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2567 10:16 น.