กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางใจในชุมชนบ่อหิน ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67 – L8429 - 01 - 14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสิเกา
วันที่อนุมัติ 17 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมุกดา เพชรแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.569505428,99.33580733place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2567 31 ส.ค. 2567 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พลังสุขภาพจิต หรือความเข้มแข็งทางใจ เป็นความสามารถของบุคคลในการป้องกันหรือเอาชนะผลกระทบจากความทุกข์ยาก พลังสุขภาพจิตอาจเปลี่ยนหรือทำให้บุคคลมีความยืดหยุ่นซึ่งลักษณะพฤติกรรมดังกล่าวเป็นความสามารถทางอารมณ์และจิตใจในการปรับตัวและฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติ ภายหลังจากพบกับเหตุการณ์วิกฤตหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความยากลำบากในชีวิตซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ช่วยให้บุคคลผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคและดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข และผู้ป่วยกลุ่มโรคทางจิตเวชเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่มีความสำคัญและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โรคทางจิตเวชคือกลุ่มอาการทางจิตหรือพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลนั้นเกิดความทุกข์ทรมานหรือมีความบกพร่องในกิจวัตรประจำวัน โรคทางจิตเวชมีอยู่หลายประเภท โรคทางจิตเวชที่พบบ่อยในประเทศไทย ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล, โรคอารมณ์สองขั้ว, โรคจิตเภทและโรคทางจิตเวชที่เกิดจากการใช้สารเสพติด ซึ่งกลุ่มโรคจิตเวช มีความผิดปกติด้านความคิด การรับรู้ การแสดงออกทางอารมณ์ การสื่อสาร และ พฤติกรรมเป็นความเจ็บป่วยเรื้อรังที่ยุ่งยากต่อการดูแลรักษาและมีโอกาสกลับเป็นซ้ำโดยเฉพาะโรคจิตเภท  มีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้ร้อยละ 53 - 72 ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพยาธิสภาพถาวรจนถึงขั้นไม่สามารถดูแลตนเองได้
      ปีงบประมาณ 2566 คลินิกสุขภาพจิตและยาเสพติด โรงพยาบาลสิเกา มีกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชมารับบริการ จำนวน 496 ราย และมีอาการกำเริบรุนแรงเกินความสามารถได้ส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลตรัง จำนวน 45 ราย จึงต้องมีผู้สนับสนุนดูแลช่วยเหลือจึงจะสามารถดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ ผู้ดูแลจึงเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว อย่างใกล้ชิดและต้องดูแลต่อเนื่องเป็นระยะเวลา ยาวนาน ระยะเวลาในการดูแลรักษาที่ยาวนานโดยหาที่สิ้นสุดไม่ได้ทำให้ผู้ดูแลมีความทุกข์ใจ ตึงเครียด อยู่ตลอดเวลา หมดกำลังใจ คิดว่าเป็นตราบาปและรู้สึกเป็นภาระส่งผลกระทบต่อพลังสุขภาพจิตหรือความเข็มแข็งทางใจต่ำลง ภาวะโรคกลุ่มทางจิตเวช เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่นำไปสู่ปัญหาดำเนินชีวิตประจำวัน เนื่องจากภาวะดังกล่าวจะทำให้ผู้ดูแลและกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชเกิดความรู้สึก เบื่อหน่ายความสนใจสิ่งต่าง ๆ ลดลง จิตใจหดหู่ ห่อเหี่ยว เซ็ง เศร้าโศกเสียใจง่าย มักน้อยใจ ร้องไห้ บ่อย มีความทุกข์ทรมานอย่างมากและมักทำให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ใจ (Touhy, Jett, & Ebersole, 2014) รวมถึงพฤติกรรมการนอนเปลี่ยนไป รู้สึกแย่ กับตัวเอง รู้สึกผิด รู้สึกไร้ค่า หรือคิดว่าตนเป็นภาระของผู้อื่น หากมีอาการมากๆอาจมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ พูดถึงความตายบ่อยๆ และอาจวางแผนทำร้ายตนเอง การเผชิญกับปัญหาต่างๆไม่เหมาะสมทำให้ส่งผลกระทบต่อพลังสุขภาพจิตหรือความเข็มแข็งทางใจลดลงได้เช่นเดียวกัน การเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตหรือความเข้มแข็งทางใจจึงเป็นการเสริมสร้างให้บุคคลมีความเข้มแข็งสามารถเผชิญปัญหาให้ผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ และเป็นการบำบัดทางสังคมจิตใจที่มีความสำคัญในการช่วยเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าของบุคคล ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล จากการทบทวนวรรณกรรม การส่งเสริมให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลเห็นคุณค่าในตนเองเป็นการพัฒนาความเข้มแข็ง ทางใจ และการเสริมสร้างความสามารถ ในความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วย เชิงบวกทำให้เกิดความพร้อมทางใจที่จะเผชิญกับทุกสถานการณ์อย่างมั่นใจ และมีความอดทนต่อการเผชิญปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสม สามารถรับมือกับความเครียดและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในชีวิต ให้กลับสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว
      ดังนั้นงานจิตเวชยาเสพติด กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสิเกา ตระหนักถึงความสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจของกลุ่มผู้ป่วยและผู้ดูแลของกลุ่มโรคทางจิตเวช เพื่อเสริมความ เข้มแข็งทางใจ เพิ่มพลังสุขภาพจิตให้กับกลุ่มบุคคลดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางใจในชุมชนบ่อหิน ปี 2567 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพลังสุขภาพจิตที่เข้มแข็งขึ้น สามารถเผชิญปัญหาได้อย่างเหมาะสม ช่วยลดภาวะการเจ็บป่วยและทำ ให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มเสี่ยง และผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเรื่องปัญหาสุขภาพจิต กลุ่มโรคจิตเวชและสารเสพติดในชุมชน
  • ร้อยละ 70 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มเสี่ยง และผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเรื่องปัญหาสุขภาพจิต กลุ่มโรคจิตเวชและสารเสพติดในชุมชน
2 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มเสี่ยง และผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้และทักษะในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางใจ
  • ร้อยละ 70 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มเสี่ยง และผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้และทักษะในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางใจ
3 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มเสี่ยง และผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถคัดกรองและเฝ้าระวังอาการกำเริบของผู้มีปัญหาสุขภาพจิตได้
  • ร้อยละ 70 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มเสี่ยง และผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถคัดกรองและเฝ้าระวังอาการกำเริบของผู้มีปัญหาสุขภาพจิตได้
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางใจในในชุมชนบ่อหิน ปี 2567(16 ส.ค. 2567-16 ส.ค. 2567) 10,000.00        
รวม 10,000.00
1 กิจกรรมเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางใจในในชุมชนบ่อหิน ปี 2567 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 10,000.00 1 10,000.00 0.00
30 ส.ค. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มโรคทางจิตเวชและทักษะการการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางใจ 60 10,000.00 10,000.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 60 10,000.00 1 10,000.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้น
  2. ผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตาย ไม่กลับมาทำร้ายตัวเองซ้ำ
  3. อัตราการฆ่าตัวตายในพื้นที่ลดลง
  4. ผู้ป่วยจิตเวชและผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2567 16:19 น.