โครงการถนนปลอดถังร่วมกันตั้งธนาคารขยะให้ยั่งยืน
ชื่อโครงการ | โครงการถนนปลอดถังร่วมกันตั้งธนาคารขยะให้ยั่งยืน |
รหัสโครงการ | 67-L3315-02-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ตำบลควนขนุน |
วันที่อนุมัติ | 31 กรกฎาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 สิงหาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 40,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | สิบเอกกิตตินันท์ รักปาน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากการสำรวจด้วยสายตาจะเห็นได้ว่าจำนวนถังขยะในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลหนองพ้อ ซึ่งมีปริมาณมากพอสมควรกระจายอยู่ตามถนนหนทาง ในเขตเทศบาล และมีปัญหาบุคคลนอกพื้นที่นำขยะมาทิ้ง บางครั้งก็ทำให้เกิดผลเสียตามมา บางเวลาตรวจพบปัญหาขยะตกค้างประจำวัน มีกลิ่นรบกวน และทำให้ภูมิทัศน์ของพื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลหนองพ้อ ดูไม่สวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนสายหลักที่มีรถ/ยานพาหนะต่างพื้นที่สัญจรไปมาชุมชนได้ร่วมกันดำเนินการในเรื่องมรมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำจัดขยะตามหลักวิชาการ หรือการทำธนาคารขยะ ซึ่งในปีที่ผ่านและจากการวิเคราะห์ขยะที่นำมาทิ้ง พบว่าส่วนใหญ่เป็นขยะอินทรีย์ นอกจากนี้ยังมีขยะรึไซเคิลที่สามารถคัดแยกนำไปขายได้ โดยมีการจัดตั้งธนาคารขยะขึ้นในชุมชน เพื่อบริหารจัดการขยะในชุมชน/หมู่บ้าน ให้เป็นไปตามแนวทางของกระทรวงมหาดไทย เพื่อลดผลกระทบปัญหาดังกล่าวในเรื่องการติดตั้งหรือการจัดเก็บขยะ ที่จะส่งผลต่อจิตสำนึกของประชาชนในการทิ้งขยะให้เป็นเวลา มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง อันจะเป็นการนำไปสู่การลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดที่ปลายทาง ลดแหล่งเพาะพันธ์สัตว์และแมลงที่เป็นพาหนะนำโรคต่าง ๆ ดังนั้นงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้ลงพื้นที่ปรึกษาหารือทีมปกครองตำบลควนขนุนร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลควนขนุน เพื่อหาแนวทางในการดำเนินงานโดยเน้นการสร้างความรู้ ตระหนักและรณรงค์และสร้างกระแสให้ประชาชนทราบและเห็นผลว่าการจัดการขยะที่แท้จริงและยั่งยืนควรดำเนินการอย่างไรและทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป ดังนั้นภาคีเครือข่ายได้ประชุมหารือกันถึงความสำคัญที่จะดำเนินการให้เป็นรูปร่างมีศักยภาพที่ดีและเห็นผลชัดเจน จึงขอเสนอโครงการนี้ขึ้นเพื่ออบรมให้ตวามรู้และรณรงค์สร้างกระแสอย่างจริงจังต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑.เกิดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของหมู่บ้านและเทศบาลในด้านการจัดการขยะ ๒.ถนนเส้นเป้าหมาย มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น ไม่มีขยะตกค้างในชุมชน/หมู่บ้าน 3.ปริมาณขยะปลายทางลดลง ประชาชนมีจิตสำนึกในการจัดการขยะเพิ่มมากขึ้น ๔.ประหยัดงบประมาณรัฐ และสภาพภูมิทัศน์ตามถนนหนทางสาธารณะสะอาดตาอยู่เสมอ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2567 11:56 น.