กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการระบาดโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L2502-02-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกาลิซา
วันที่อนุมัติ 1 สิงหาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 59,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมาหามะสักรี มะวี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยยุ่งลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคได้ติดต่อตามสถานการณ์ โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบว่าผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสมในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 5 มิ.ย. 67 พบผู้ป่วยจำนวน 30,353 ราย ผู้เสียชีวิต 36 ราย และคาดการณ์ว่าอาจเสียชีวิตมากกว่า 200 รายในปีนี้ ซึ่งเพิ่มสูงสุดในรอบ 5 ปี โรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นได้ในประชากรทุกกลุ่มวัย เป็นแล้วจะเกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพ เช่น มีเลือดออกที่อวัยวะภายใน ทำให้อวัยวะภายในล้มเหลว ความดันโลหิตต่ำ ภาวะช็อก จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ สาเหตุการเกิดไข้เลือดออก เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การที่ประชาชนขาดการตระหนักรู้เกี่ยวกับการป้องกันและดูแลตนเอง
ดังนั้น จึงต้องมีการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยให้ประชาชนร่วมมือและตระหนักถึงความสำคัญ ที่ต้องช่วยกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาด การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลอย่างรวดเร็วนั้น ต้องตัดวงจรการติดต่อของโรคอย่างทันท่วงที ซึ่งในปัจจุบันนี้ ใช้วิธีการพ่นฟุ้งกระจายชนิดถูกตัวตายเพื่อกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค การพ่นเคมีจะเกิดผลดี และมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ชนิดของสารเคมี คุณภาพเครื่องพ่นสารเคมี เทคนิคการพ่นสารเคมี และสภาพแวดล้อมขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น ตำบลกาลิซา เป็นอีกพื้นที่หนึ่ง ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งการแพร่เชื้อและกระจายโรค เกิดได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และศาสนสถาน จึงต้องมีการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่ให้แพร่ระบาดเพิ่มขึ้น โดยอาศัยการร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จึงได้มีการดำเนินงานโครงการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อดำเนินการพ่นหมอกควันควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก รวมถึงรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึกของชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพที่ดีสร้างเกราะป้องกัน และลดอัตราการป่วยจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด และลดอัตราป่วย ด้วยโรคไข้เลือดออก

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด  และอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 80

2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลาย

แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายลดลง ร้อยละ 80

3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80

4 ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพราะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง

ประชาชนมีพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพราะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ลดลง 2 จำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่ลดลง 3 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และร่วมมือในการป้องกันการระบาดโรคไข้เลือดออก 4 สามารถเฝ้าระวัง และควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2567 13:55 น.