กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดี ชีวียั่งยืน สร้างสุขด้วยสุขศาลา (Health Station) ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ L7250-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครสงขลา
วันที่อนุมัติ 1 สิงหาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 168,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ พ.จ.อ. สกล วัฒนอัมพร ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.201055,100.603933place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุการเสียชีวิต ๒ ใน ๓ ของประชากรไทย ส่งผลต่อ ทั้งต้านเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอีกทั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงสองทศวรรษ ที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยหลายด้านตั้งแต่ การจัดบริการคัดกรองไม่ทั่วถึงและประชาชนขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการและองค์ความรู้ในการจัดการตนเอง ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด - ๑๙ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายลดความแออัดในสถานพยาบาล ทำให้เกิดนวัตกรรมการให้บริการคัดกรองและติดตามภาวะความดันและน้ำตาลในเลือดนอกสถานพยาบาล มีการบันทึกข้อมูลสุขภาพของประชาชน และส่งต่อข้อมูลกับสถานพยาบาล โดยมีสถานที่ตั้งให้บริการอยู่ในชุมชน มีชื่อเรียกว่า สถานีสุขภาพติจิทัล (Digital Health Station) ซึ่งหมายถึง สถานที่สำหรับ ให้บริการตรวจสุขภาพด้วยตนเองของประชาชนทุกกลุ่มวัย ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอดเวลาเมื่อมีความต้องการตรวจเช็คสุขภาพของตนเอง หรือเมื่อแพทย์ต้องการติดตามภาวะสุขภาพของผู้ป่วย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลาจึงมีความคาดหวังว่าจะช่วยให้ประชาชนทั้งกลุ่มปกติ และกลุ่มป่วยสามารถเข้าถึงบริการ การตรวจเฝ้าระวังทางสุขภาพได้สะดวกขึ้น และลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังลงได้ จึงได้เขียนโครงการนำร่องจัดตั้งสถานีคัดกรองสุขภาพชุมชน สุขศาลา (Health Station) ขึ้น ในพื้นที่เขตบริการของเทศบาลนครสงขลาโดยจะนำร่องจัดตั้งทั้งหมด จำนวน 1 จุดบริการ คือ ชุมชนย่านเมืองเก่า ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง เพิ่มขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้มีระบบบริการเฝ้าระวังและคัดกรองภาวะสุขภาพ เป็นจุดให้บริการตรวจเช็คสุขภาพ และรวบรวมองค์ความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเองในชุมชน สุขศาลา (Health station)
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง 80%
80.00
2 2 เพื่อยกระดับกลไกการขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อให้คนทุกช่วงวัยมีสุขภาวะดีอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง 80%
80.00
3 3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมตามสภาพปัญหาของพื้นที่
  1. ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ 70%
70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณส.ค. 67ก.ย. 67
1 7.1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้แก่แกนนำ อสม. เจ้าหน้าที่จุดบริการนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป เจ้าหน้าที่คณะทำงาน และวิทยากร รวม 60 คน เพื่อให้สามารถใช้อุปกรณ์และให้คำแนะนำแก่ผู้มาใช้บริการ สุขศาลา (Health Station)(2 ส.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 7,400.00    
2 7.2 กิจกรรมจัดหาชุดเครื่องมือ อุปกรณ์ในการใช้ในจุดบริการจัดตั้งสถานีคัดกรองสุขภาพชุมชน สุขศาลา(Health station)(2 ส.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 160,800.00    
รวม 168,200.00
1 7.1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้แก่แกนนำ อสม. เจ้าหน้าที่จุดบริการนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป เจ้าหน้าที่คณะทำงาน และวิทยากร รวม 60 คน เพื่อให้สามารถใช้อุปกรณ์และให้คำแนะนำแก่ผู้มาใช้บริการ สุขศาลา (Health Station) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 7,400.00 0 0.00
2 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้อง 60 1,800.00 -
2 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าวิทยากรบรรยาย 0 1,800.00 -
2 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าวิทยากรแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ 0 1,800.00 -
2 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 วัสดุอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม 0 2,000.00 -
2 7.2 กิจกรรมจัดหาชุดเครื่องมือ อุปกรณ์ในการใช้ในจุดบริการจัดตั้งสถานีคัดกรองสุขภาพชุมชน สุขศาลา(Health station) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 500 160,800.00 0 0.00
2 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ป้ายแสดง “จุดบริการตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเอง สุขศาลา Health station 500 3,000.00 -
2 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิทัลพร้อมที่วัดส่วนสูง 0 20,000.00 -
2 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอัตโนมัติแบบสอดแขน 0 64,000.00 -
2 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 โต๊ะพับขาว 0 4,000.00 -
2 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าเก้าอี้มีพนักพิงไม่มีล้อสำหรับนั่งวัดความดันโลหิต นั่งลงทะเบียน และนั่งรอตรวจ 0 2,800.00 -
2 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 สื่อความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโรคไม่ติดต่อและปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อ 0 5,000.00 -
2 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ 0 60,000.00 -
2 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 วัสดุอุปกรณ์อื่นๆ 0 2,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนได้รับบริการเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับคัดกรองสุขภาพที่ใกล้บ้านในชุมชน
    ๒. ประชาชนในชุมชนเข้าถึงบริการตรวจสุขภาพได้มากขึ้น สะดวกยิ่งขึ้น
    1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น
    2. อัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2567 14:33 น.