กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการป้องกันอุบัติภัยในโรงเรียนวัดขุนสิทธิ์
รหัสโครงการ 67-L1501-2-020
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดขุนสิทธิ์
วันที่อนุมัติ 10 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 32,880.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนวัดขุนสิทธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนวัดขุนสิทธิ์ ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 ก.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 32,880.00
รวมงบประมาณ 32,880.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด หรือไม่ตั้งใจให้เกิดขึ้น เป็นผลต่อความเสียหายแก่ทรัพย์สินและก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและจิตใจที่อาจทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตได้ด้วย สามารถจำแนกได้ออกเป็นหลายประเภท อาทิเช่น อุบัติเหตุในเคหะสถาน อุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพ อุบัติเหตุจากสาธารณสถาน อุบัติเหตุจากธรรมชาติ และอุบัติเหตุจากการจราจร ทำให้ปัญหาอุบัติเหตุเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมไทยที่ควรหาสาเหตุและควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ได้มีการสำรวจอัตราการเสียชีวิตของคนไทย พบว่าสาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตสูงสุด 3 อันดับ หนึ่งในสาเหตุสำคัญสามอันดับคือ การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากการจราจร รองจากโรคมะเร็งและโรคหัวใจ ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุนี้ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจซึ่งส่งผลต่อทั้งรัฐบาล เอกชน และส่วนบุคคล ด้านสังคมและกำลังคนจากการสูญเสียชีวิต รวมทั้งความพิการจากการเกิดอุบัติเหตุซึ่งถือได้ว่าเป็นการขาดกำลังสำคัญของชาติ ด้านสุขภาพอนามัยและความสูญเสียทางด้านจิตใจที่ได้รับผลกระทบมาจากอุบัติเหตุ จากสถิติการเกิด อุบัติเหตุบนท้องถนนที่ผ่านมา พบว่า เกิดขึ้นบริเวณทางข้าม (ทางม้าลาย) อยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเกิดจากความประมาทของผู้ใช้รถ ใช้ถนน การไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร หรือสภาพผิวจราจรบนท้องถนน ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดกับคนเดินเท้า นักเรียน/นักศึกษา ผู้ปกครอง เป็นต้น โดยพบว่ากลุ่มที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากที่สุดยังอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 5-14 ปี และเยาวชนอายุ 15-29 ปี และส่วนใหญ่เกิดจากรถจักรยานยนต์ สถานการณ์โรงเรียนวัดขุนสิทธิ์ มีนักเรียน จำนวน 274 คน แยกเป็น นักเรียนชาย จำนวน 169 คน นักเรียนหญิง จำนวน 105 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 20 คน จากข้อมูลสถิติพบปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของนักเรียน บุคลากรและคนในชุมชน มีผู้ที่ประสบอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยส่งผลกระทบในด้านสุขภาพของประชากรดังนี้ ประชากรได้รับบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งภายหลังการเกิดอุบัติเหตุจะเกิดภาวะเครียดสะสม ในกรณีบางรายที่ไม่สามารถดำเนินชีวิตเช่นเดิมได้ และทำให้ผู้ประสบอุบัติเหตุหรือคู่กรณีจำเป็นต้องขาดเรียนหรือหยุดทำงาน ซึ่งในภาวะนี้อาจส่งผลต่อการก่อโจรกรรมหรืออาชญากรรมตามมา อีกทั้งยังส่งผลกระทบในด้านเศรษฐกิจของผู้ประสบอุบัติเหตุและคู่กรณี เช่น ผู้ประสบอุบัติเหตุไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้ไม่มีรายได้เข้ามา จึงส่งผลกระทบไปยังค่าใช้จ่ายในการรักษาและค่าใช้จ่ายต่างๆ ต่อคู่กรณี ทั้งนี้ ทำให้เกิดการกู้ยืมเงิน ทั้งในระบบและนอกระบบ ในสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อมเช่นกัน การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนไม่เพียงแค่ผู้ประสบภัยหรือคู่กรณีเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนและสิ่งแวดล้อมใกล้ที่เกิดเหตุเกิดความเสียหายจึงนำไปสู่การไกล่เกลี่ย โดยที่ต้องหาบุคคลอื่นมาไกล่เกลี่ย อาทิเช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ตำรวจหรือบุคคลที่สามารถมาไกล่เกลี่ยได้เพื่อคลี่ปัญหาที่เกิดขึ้น อุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดขึ้นของนักเรียน บุคลากร และคนในชุมชน มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้รถบนถนน ดังนี้ ประชากรส่วนมากอายุยังน้อยไม่มีใบขับขี่ ทำให้ไม่มีความรู้ในเรื่องกฎจราจรการใช้ถนน จึงมีการขับรถย้อนศร ขับรถเร่งรีบฝ่าไฟแดง และแว๊นกันเป็นกลุ่ม ที่สำคัญประชากรไม่มีความตระหนักในความปลอดภัยการใช้ถนน คือ ไม่สวมหมวกกันน็อก เลี้ยวทันทีไม่เปิดไฟเลี้ยว ประมาท เล่นโทรศัพท์ในขณะที่กำลังขับรถจักรยานยนต์ กระโปรงเข้าล้อ ง่วงแล้วขับ ทำให้หลับใน และมีการขับรถแซงในเขตห้ามแซง ทั้งนี้ยังมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ถนนครุคระเป็นหลุม/บ่อ ถนนลื่น ความไม่พร้อมของรถจักรยานยนต์ จอดรถทางโค้ง และรถบรรทุกทรายที่ขาดการปิดผ้าใบ ทำให้ทรายตกหล่นบนท้องถนน หรือเข้าตาผู้ขับขี่บนท้องถนน ทำให้การมองและการขับรถบนท้องถนนเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ การเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวบุคคลเอง ตลอดจนเกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุอุบัติเหตุนั้นๆ ทั้งนี้ หากเกิดการรณรงค์สร้างความรู้ ความเข้าใจต่อประชากรเกี่ยวกับการขับขี่บนท้องถนน จะทำให้ประชากรเกิดความรู้และความเข้าใจต่อการใช้รถบนท้องถนนได้ เมื่อเกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว จะทำให้ประชากรตระหนักและเกิดความระมัดระวังต่อการใช้รถใช้ถนนได้อย่างปลอดภัย ทำให้การเกิดอุบัติเหตุลดลงได้
มติศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนนในระดับชาติได้มีข้อสั่งการให้ทุกจังหวัดในการรณรงค์เรื่องของการสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ส่วนราชการ สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรณรงค์เรื่องของการสวมหมวกนิรภัย และให้ข้าราชการเป็นต้นแบบในการนำร่องการสวมหมวกนิรภัย ทั้งนี้ จังหวัดตรัง ได้กำหนดมาตรการองค์กรและมาตรการที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยให้ทุกส่วนราชการ สถานศึกษา สถานพยาบาล หน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานประกอบการ เป็นพื้นที่สวมหมวกนิรภัย 100 % พร้อมทั้งนำระบบเทคโนโลยี มาสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดจริงจังกับผู้ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่ รวมถึงกำชับให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงาน ผู้นำองค์กร และผู้นำชุมชน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามกฎจราจร โดยเฉพาะการสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่มีการขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วย โรงเรียนวัดขุนสิทธิ์ ได้เห็นความสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพื่อส่งเสริมการจัดการสุขภาพ ความปลอดภัยด้านคน ด้านถนน และความปลอดภัยด้านรถ เพื่อลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากร และคนในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนจัดการสุขภาพต้นแบบลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างวินัยการขับขี่ปลอดภัยบนท้องถนนให้กับครู บุคลากร ผู้ปกครอง และนักเรียน

ร้อยละ 80 ของครู บุคลากร ผู้ปกครอง และนักเรียนเกิดวินัยการขับขี่ปลอดภัยบนท้องถนน

170.00
2 เพื่อส่งเสริมการใช้ความปลอดภัยบนท้องถนนให้กับครู บุคลากร ผู้ปกครอง และนักเรียน

ร้อยละ 80 ของครู บุคลากร ผู้ปกครอง และนักเรียนมีความปลอดภัยบนท้องถนน ลดอัตราการบาดเจ็บและการเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุทางท้องถนน

170.00
3 เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนัก การขับขี่ปลอดภัยและถูกกฎ จราจรบนท้องถนน

ร้อยละ 80 ของครู บุคลากร ผู้ปกครอง และนักเรียนมีตระหนัก การขับขี่ปลอดภัยและถูกกฎจราจรบนท้องถนน

170.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 680 32,880.00 0 0.00
10 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 1.การจัดตั้งคณะทำงานโครงการและวางแผน การดำเนินงาน 170 150.00 -
10 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 2.รณรงค์พฤติกรรมดีขับขี่ปลอดภัย 170 12,275.00 -
10 - 30 ก.ค. 67 อบรมให้ความรู้วินัยจราจรในสถานศึกษาเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ 170 20,055.00 -
10 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 สรุปและประเมินผลโครงการ 170 400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้เกิดโรงเรียนจัดการสุขภาพต้นแบบลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
  2. ทำให้อัตราการบาดเจ็บและการเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุบนท้องถนนบริเวณโรงเรียนและชุมชนใกล้เคียงลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2567 15:17 น.