กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการองค์กรปลอดบุหรี่
รหัสโครงการ 60-L5209-1-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลท่าช้าง
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2560
งบประมาณ 3,710.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวลลิตาสุวรรณมณี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววารีญาบิลตาลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.048,100.378place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพที่รุนแรงถึงชีวิต และทำให้ผู้สูบเกิดความพิการตลอดชีวิต
ซึ่งผู้ที่สูบบุหรี่ นอกจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค อันเนื่องมาจากการสูบบุหรี่แล้ว ยังปลดปล่อยควันบุหรี่มือสอง ที่สร้างความเดือดร้อน รำคาญ และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่รอบข้าง โดยเฉพาะในสถานศึกษา สถานที่ราชการ สถานที่ทำงานหรือสถานประกอบการซึ่งเป็นแหล่งเสี่ยงต่อสุขภาพมาก ในขณะเดียวกัน การสูบบุหรี่มือสอง
(passive smoking) หรือการได้รับควันบุหรี่จากผู้ใกล้ชิด ก็ทำให้ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่ เกิดโรคที่มีอันตรายถึงชีวิตได้เช่นเดียวกัน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคสมองขาดเลือด เป็นต้น นอกจากนั้น การปล่อยให้มีการสูบบุหรี่ ในสถานที่ราชการ สถานที่ทำงานของสถานประกอบการ โดยไม่มีมาตรการควบคุม ยังสร้างความเสี่ยงต่อชีวิต และทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการเกิดอัคคีภัย การเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้ง เพิ่มภาระและค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดพื้นที่ เนื่องมาจากควันบุหรี่และก้นบุหรี่
ตาม พรบ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 และ พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535
เป็นที่ยอมรับในทางการแพทย์ว่า ควันบุหรี่เป็นผลเสียแก่สุขภาพของผู้ที่สูบบุหรี่และผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ที่อยู่ใกล้เคียง หลายประการนอกจากนั้นยังพิสูจน์ได้ว่า การที่ผู้ไม่สูบบุหรี่ต้องสูดควันบุหรี่ซึ่งผู้อื่นสูบเข้าไป ก็ยังเป็นผลเสีย ต่อสุขภาพเช่นเกี่ยวกับที่เกิดขึ้นกับผู้สูบบุหรี่เอง กระทรวงสาธารณสุขจึงผลักดันให้มีการออก พรบ.คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ขึ้น โดยการแจ้งทุกจังหวัดดำเนินการ ในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ให้เกิดเป็นรูปธรรม อย่างเคร่งครัด รวมทั้งองค์กรอนามัยโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรสาธารณสุขที่จะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดในการช่วยผู้ที่เสพติดบุหรี่ปีละ 5 ล้านคน และจะเพิ่มเป็นปีละ 10 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งจากข้อมูลโรคต่างๆที่เกิดจากการสูบบุหรี่ถึง 86 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ มะเร็ง 10 ชนิด โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด 4 ชนิด และอื่นๆ อีก 6 ชนิด ซึ่งคนไทยเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ปีละ 42,000 คน หรือวันละ 115 คน
หรือชั่วโมงละ 4 คน การส่งเสริมเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเพื่อลดความเสี่ยงจากสูบบุหรี่ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการสร้างความเข็มแข็งต่อการลด ละหรือเลิกการบริโภค ในการรับรู้ถึงภัยคุกคามจากการบริโภคยาสูบในกลุ่มคน ในสังคม เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม ส่งถ่ายข้อมูลและข้อเท็จจริงถึงพิษภัยของบุหรี่ที่มีผลเสียต่อสุขภาพ
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลท่าช้าง จึงเล็งเห็นความสำคัญของการเกิดปัญหาจากการสูบบุหรี่
จึงได้ดำเนินจัดทำโครงการองค์กรปลอดบุหรี่ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการลดความเสี่ยงจากการ สูบบุหรี่ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ตัวแทนจากสถานที่ราชการและเอกชนมีความรู้ความเข้าใจถึงโทษจากการสูบบุหรี่ที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพ
  1. สถานที่ราชการและเอกชนมีความรู้ความเข้าใจถึงโทษจากการสูบบุหรี่ที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพ
2 2. เพื่อให้สถานที่ราชการและเอกชนตระถึงพิษภัยจากบุหรี่ในการช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายที่เกิดจากการสูบบุหรี่
  1. สถานที่ราชการและเอกชนตระถึงพิษภัยจากบุหรี่ในการช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายที่เกิดจากการ สูบบุหรี่
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการฯ เสนอขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าช้าง
  2. ดำเนินการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามจากการสูบบุหรี่จำนวน50 คน
  3. คัดเลือกสถานที่ราชการ สถานที่เอกชนเพื่อเข้าร่วมโครงการองค์กรปลอดบุหรี่
  4. จัดทำแบบประเมินองค์กรปลอดบุหรี่
  5. ประเมินองค์กรที่เข้าร่วมโครงการ
  6. รวบรวมรายงานผลการดำเนินงาน และประเมินผลการดำเนินงาน
  7. รายงานผลการดำเนินงานให้กองทุนหลักประกันสุขภาพทราบหลังจากเสร็จโครงการ 1เดือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สถานที่ราชการและเอกชนมีความรู้ความเข้าใจถึงโทษจากการสูบบุหรี่ที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพ
  2. สถานที่ราชการและเอกชนตระถึงพิษภัยจากบุหรี่ในการช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายที่เกิดจากการ สูบบุหรี่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2560 14:51 น.