กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 5
รหัสโครงการ 67-L7499-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5
วันที่อนุมัติ 31 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2568
งบประมาณ 14,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรพิมล นิลโอภา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.473304423,100.4389966place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจหลอดเลือดสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ฯลฯ เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) แผลเรื้อรัง เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่านอกจากการบริการทางคลินิกแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อดังกล่าว ซึ่งการบริการสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น รวมทั้งการบริการสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเป็นสำคัญ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ถือเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจาก ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ความเครียด การออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ ซึ่งหากประชาชนไม่สามารถควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไปย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และต้องได้รับการรักษาด้วยการรับประทานยาตลอดชีวิต อีกทั้งหากมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ส่งผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจเพียงอย่างเดียวอาจไม่มีผลเพียงพอที่จะทำให้เกิดความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงสุขภาพได้ การจัดกิจกรรมฝึกทักษะและการเสริมสร้างพลังแก่กลุ่มเป้าหมายจึงจำเป็นต้องควบคู่กับการให้ความรู้ ความเข้าใจนำไปสู่การปฏิบัติ นอกจากนี้การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งในครอบครัว และชุมชนก็จะส่งผลให้ประชาชนตระหนักและมีพฤติกรรมที่ดีได้ ดังนั้นจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะเร่งการทำงานเชิงรุกในชุมชนเพื่อตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ หากได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง จึงมีแนวทางการดำเนินงานโดยเน้นวิธีการเชิงรุกในการส่งเสริมสุขภาพการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดังนั้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนสุขภาพดีวิถีชีวิตไทยลดภัยโรงเรื้อรัง ในการลดปัญหาโรคเรื้อรัง การคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีเป้าหมายสำคัญคือ ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และรับการรักษาได้เร็วและถูกต้อง สร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาวะสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรังขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริม กระตุ้นให้ประชาชนตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่

ร้อยละ 90 ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง

2 เพื่อลดอัตราป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป

ร้อยละ 100 ของผู้ที่พบระดับน้ำตาลในเลือดสูง และความดันโลหิตสูงเกินค่ามาตรฐานได้รับการส่งต่อเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 15 14,450.00 3 14,440.00 10.00
1 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมการอบรม 15 950.00 940.00 10.00
15 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ 0 13,500.00 13,500.00 0.00
1 ต.ค. 67 - 30 พ.ย. 67 ตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง 0 0.00 0.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 15 14,450.00 3 14,440.00 10.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และสามารถมีการรับรู้ถึงสถานะสุขภาพของตนเอง ว่ามีระดับความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงมากน้อยเพียงใด 2.กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงทุกรายได้รับการเฝ้าระวังและการส่งเสริมสุขภาพจากหน่วยบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม 3.มีข้อมูลสถานะสุขภาพที่มีความถูกต้องและจัดเก็บและสามารถนำไปใช้เพื่อวางแผนงานสาธารณสุขต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2567 15:43 น.