กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังในชุมชน (Kit Dee)
รหัสโครงการ 67-L4118-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมจิตอาสาญาลันนันบารู ตำบลคีรีเขต
วันที่อนุมัติ 1 สิงหาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอุไร ศรีทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคีรีเขต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.153,101.116place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมสุขภาพจิตเผย ช่วง ๓ ปีมีผู้ติดยาที่มีอาการทางจิตเข้ารักษาปีละเกือบ ๔ พันรายต่อไป แนะหากพบบุคคลที่มีความผิดปกติ ทางจิตที่มีภาวะเป็นอันตราย หรือ มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือเจ้าหน้าที่ฝ่าย ปกครองนำส่งบุคคลดังกล่าวไปยังโรงพยาบาลหรือสถานบำบัดรักษาได้ เพื่อผลดีต่อตัวของเขาเอง ขณะเดียวกันก็เป็นการป้องกันความปลอดภัย ให้กับสังคมอีกด้วยกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การติดสารเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่เกิดขึ้นทีละน้อย จากการใช้ยาเป็นครั้งคราวสู่การใช้ถี่ ขึ้น จนใช้ทุกวัน วันละหลายครั้ง ซึ่งเมื่อใช้บ่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จะนำไปสู่ภาวะ "สมองติดยา” โดยสารในตัวยาจะเข้าไปทำลายสมองส่วนคิด ทำ ให้การใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลเสียไป สมองส่วนอยากจึงเข้ามามีอิทธิพลเหนือสมองส่วนคิด โดยเฉพาะช่วงอยากสารเสพติด ทำให้ผู้เสพติด ทำอะไรตามใจตามอารมณ์มากกว่าเหตุผล ผู้ที่ใช้สารเสพติดจึงมักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมา เช่น อารมณ์ก้าวร้าว หงุดหงิด ไม่ สามารถควบคุมตัวเองได้ ขาดความยับยั้งชั่งใจ นำไปสู่ความรุนแรงในสังคมที่พบเห็นอยู่บ่อยๆ และหากติดตามผู้ป่วยที่ติดสารเสพติดไปนานๆ จะพบว่า ส่วนใหญ่มักมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วย เช่น เป็นโรคจิตหวาดระแวง ประสาทหลอนเรื้อรัง มีภาวะสมองเสื่อมขณะเดียวกัน ผู้ป่วยทางจิต ที่อยู่ระหว่างการรักษา แล้วไปกินเหล้า สูบบุหรี่ เสพยาบ้า หรือ กัญชา ซึ่งเป็นข้อห้ามสำคัญที่ไม่ควรทำในระหว่าง การรักษา ที่นอกจากจะทำให้ผลการรักษาไม่ดีแล้ว ยังทำให้การกำเริบของโรคเร็วขึ้น เพราะสารเสพติดเหล่านี้ จะไปมีปฏิกิริยากับยาที่รักษาอยู่ ทำให้ยาหมดฤทธิ์ ไม่เพียงพอในการควบคุมอาการ อาการจึงกำเริบขึ้น นำไปสู่ความรุนแรงในสังคมเช่นเดียวกัน จึงต้องได้รับการดูแลรักษาที่ ชนิด จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดถูกต้องเหมาะสมอย่างทันท่วงที การไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดทุก ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.๒๕๕๑ หากพบบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตที่มีภาวะเป็นอันตราย หรือ มีความจำเป็นต้องได้รับการ บำบัดรักษา ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองนำส่งบุคคลดังกล่าวไปยังโรงพยาบาลหรือสถาน บำบัดรักษาได้ เพื่อผลดีต่อตัวของเขาเอง ขณะเดียวกันก็เป็นการป้องกันความปลอดภัยให้กับสังคมอีกด้วย ส่วนกรณีสะเทือนขวัญที่เกิดขึ้น ณ จ.บึงกาฬ เบื้องต้น ทีม MCATT รพ.ศรีวิลัย รพ. บึงกาฬ ร่วมกับแกนนำชุมชน ลงพื้นที่เยี่ยมครอบครัวผู้เสียชีวิต พูดคุยและเฝ้าระวังปัญหา สุขภาพจิตครอบครัวผู้เสียชีวิตและคนในชุมชนแล้ว ทั้งนี้ จากรายงานของระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด รายงานการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ที่มีอาการทางจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในช่วง ๓ ปีที่ผ่านมา (๒๕๕๖-๒๕๕๘) มีผู้เข้ารับการรักษาใน รพ.สังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ เกือบ ๔ พันราย ต่อปี นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่ตำบลคีรีเขต ยังพบผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติด ๙ รายซึ่งกระจายตามหมู่บ้านทั้ง ๗ หมู่บ้านทั้งที่แสดงอาการ ชัดเจนและยังไม่แสดงอาการและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเมื่อไม่ได้รับการรักษาและส่งต่อที่ถูกต้องและทันเวลา จำทำให้ส่งผล กระทบต่อบุคคลในครัวเรือน และเยาวชนในระแวกบ้าน จากความสำคัญข้างต้นดังกล่าวจะเห็นได้ว่าปัญหาส่วนหนึ่งนั้นเกิดจาการที่คนในชุมชนไม่มีความรู้ในเรื่องการเฝ้าระวังการคัดแยกผู้ป่วยใน ประเภทต่าง ๆ และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต รวมไปถึงแนวทางการส่งต่อที่ไม่ทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บทางด้านร่างกายและคนใน ครอบครัวไม่ได้รับการกระทบกระเทือนทางด้านจิตใจจึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการศักยภาพภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังคนใข้จิตเวชจาก การใช้ยาเสพติด (Kit Dee) ต.คีรีเขต อ.ธารโต จ.ยะลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ภาคีเครือข่ายในชุมชนมีองค์ความรู้ในเรื่องการคัดแยกผู้ป่วยจิตเวชได้อย่างถูกต้อง

 

2 2. เพื่อสร้างแนวทางการปฎิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่ขัดต่อระเบียบและข้อกฎหมายที่สามารถนำไปใช้ในหมู่บ้านและชุมชน

 

3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชทั้งที่มีอาการและไม่แสดงอาการได้รับการส่งต่อรักษาได้ทันเวลา

 

4 4. เพื่อให้ภาคีเครือข่ายที่เข้ารับการอบรมมีองค์ความรู้ในเรื่องการให้คำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับผู้เริ่มใช้ยาเสพติดและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2567 10:19 น.