โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (2-3ปี) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาเมืองเพชร
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (2-3ปี) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาเมืองเพชร |
รหัสโครงการ | 67-L1523-3-21 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาเมืองเพชร |
วันที่อนุมัติ | 5 มีนาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2567 |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาเมืองเพชร |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวศศิมา โสะสะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.559,99.465place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 45 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การมีพัฒนาการที่สมวัยนั้นถือได้ว่าเป็นคุณภาพชีวิตประชากรอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประชากรวัยเด็กช่วงอายุ ๒ - ๓ ปีนั้น ถือได้ว่าเป็นช่วงวัยแห่งการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยเรียน อย่างเป็นทางการตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ โดยเด็กในช่วงวัยดังกล่าว ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยง ดูที่ดี โดยเริ่มต้นจากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึง ความสำคัญในการกระตุ้นส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ศูนย์พัฒนา เด็กเล็กโดยครูผู้ดูแลเด็กจึงมีบทบาทสำคัญ ที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพ่อแม่/ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูกระตุ้น ส่งเสริมให้เด็กเล็กที่พ่อแม่/ผู้ปกครองนำมาฝากไว้ มีพัฒนาการสมวัย อย่างไรก็ตามจากการเลี้ยงดูและการ เอาใจใส่ที่แตกต่างกัน เช่น ขาดสารอาหาร สุขภาพไม่สมบูรณ์ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ขาดสิ่งกระตุ้น พัฒนาการ ขาดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ขาดการกระตุ้นการตอบสนอง และอยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัย ทำให้เด็กเล็กจำนวนหนึ่งมีพัฒนาการต่ำกว่าระดับศักยภาพปกติ การประเมินติดตามพัฒนาการเป็นประจำ จะทำให้พบเด็กเล็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้เร็วขึ้น และดำเนินการส่งต่อยังคลีนิคกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ปฐมวัย ต่อไป กครองนามาฝาก ซึ่งในปี ๒๕๖๓ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาเมืองเพชร ได้ทำการคัดกรองและประเมินพัฒนาการ เด็กนักเรียนตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้งหมด จำนวน ๕๖ คน มีนักเรียนผ่าน การประเมิน จำนวน ๕๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๒๑ ของเด็กนักเรียนทั้งหมด และไม่ผ่านการประเมินการ จำนวน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๗๙ ของเด็กนักเรียนทั้งหมด ปี ๒๕๖๔ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาเมืองเพชร ทำการคัดกรองและประเมินพัฒนาการเด็ก นักเรียน์ตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้งหมด จำนวน ๕๐ คน มีนักเรียนผ่านการระเมิน จำนวน ๔๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๐๐ ของเด็กนักเรียนทั้งหมด และไม่ผ่าน การประเมิน จำนวน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๐๐ ของเด็กนักเรียนทั้งหมด ปี ๒๕๖๕ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาเมืองเพชร ทำการคัดกรองและประเมินพัฒนาการเด็ก นักเรียนตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้งหมด จำนวน ๔๐ คน มีนักเรียนผ่านการ ประเมิน จำนวน ๓๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๐๐ ของเด็กนักเรียนทั้งหมด และไม่ผ่านการประเมิน จำนวน ๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๐๐ ของเด็กนักเรียนทั้งหมด และในปี ๒๕๖๖ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาเมืองเพชร ทำการคัดกรองและประเมินพัฒนาการ เด็กนักเรียนตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้งหมด จำนวน ๔๐ คน มีนักเรียนผ่าน การประเมิน จำนวน ๓๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๕๐ ของเด็กนักเรียนทั้งหมด และไม่ผ่าน การประเมิน จำนวน ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๕๐ของเด็กนักเรียนทั้งหมด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาเมืองเพชร จึงเห็นว่ากองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นได้เน้น ให้มีโครงการบูรณาการด้านอาหาร โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามวัย ผู้จัดทำโครงการ จึงเห็นความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมตามวัยโดยนำการปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงมาประยุกต์ร่วมกับแบบประเมินเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) เพื่อให้ครู และผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย รับรู้วิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย รวมถึงผลกระทบจากพัฒนาการล่าช้า และส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการตามวัย มีความพร้อมในการศึกษาระดับสูงต่อไปได้ด้วยดี
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | (๑) เพื่อให้ครู และผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (๒) เพื่อให้ครู และผู้ปกครองรับรู้วิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (3) เพื่อคัดกรองพัฒนาการเบื้องต้นของเด็กปฐมวัย (๑) ร้อยละ ๙๐ ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 195 | 15,000.00 | 0 | 0.00 | 15,000.00 | |
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้ และการรับรู้ปัญหา โดยใช้กระบวนการกลุ่ม | 50 | 3,050.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 2 การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นกิจกรรมกลุ่มย่อย | 45 | 990.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 3 การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติ | 50 | 1,210.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 4 การประเมินพัฒนาการ | 50 | 9,750.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 195 | 15,000.00 | 0 | 0.00 | 15,000.00 |
- ระยะเตรียมการดำเนินโครงการ
- ศึกษาข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาเมืองเพชร
- ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวกับการการส่งเสริมสุขภาพพัฒนาของเด็ก
- กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
- เขียนโครงร่างโครงการ
- ขออนุมัติโครงการ
2.ระยะการดำเนินโครงการ
2.1ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยก่อนเข้าร่วมโครงการโดยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)
2.2พบเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการล่าช้าดำเนินการส่งต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในเขตรับผิดชอบ 2.3 ดำเนินกิจกรรมตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้ และการรับรู้ปัญหา โดยใช้กระบวนการกลุ่ม - บรรยายพร้อมสื่อประกอบการบรรยาย ได้แก่ power point สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัย ผลกระทบจากพัฒนาการล่าช้า วิธีการใช้งานคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) โดยวิทยากรจากสาธารณสุขอำเภอสิเกา
- ร่วมวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้า
- ร่วมสรุปอภิปรายประโยชน์ของการเฝ้าระวังและส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย กิจกรรมที่ 2 การสะท้อนความคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นกิจกรรมกลุ่มย่อย
- ระบุวิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยภายในองค์กรที่สามารถกระทำได้
- ร่วมอภิปรายกลุ่มโดยให้ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอ กิจกรรมที่ 3 การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติ -วางแผนการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยกระบวนการกลุ่มระดมความคิดเพื่อกำหนดแนวทาง วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย -ดำเนินการตามแผนส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยและร่วมกันจัดบริบทศูนย์เด็กเล็กให้เอื้อต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐม -กิจกรรม “สวนผัก ส่งเสริมพัฒนาการ” กิจกรรมที่ 4 การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ
- การกำกับติดตาม และสอบถามปัญหาอุปสรรคหลังจากที่ได้ลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
จำนวน 3 ครั้ง ในเดือนที่ 1 2 และ 3 - เดือนที่ 4 กิจกรรมกีฬาพัฒนาการเป็นเลิศ
- มอบเกรียติบัตร หนูน้อยสดใส พัฒนาการเป็นเลิศ
- ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยหลังเข้าร่วมโครงการ โดยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริม
พัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) - กระตุ้นพัฒนาการในเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการไม่สมวัย หากพบเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการ
ไม่สมวัยให้ดำเนินการส่งต่อไปยัง คลินิกกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐม ณ โรงพยาบาลตรัง
3.ระยะประเมินผล
3.1 ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
3.2 ประเมินการสะท้อนความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยการร่วมวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้า
3.3 ประเมินการตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติโดยการร่วมกำหนดวางแผนการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย จนกระทั้งนำไปสู่การปฏิบัติได้
3.4 ประเมินการคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพโดยการติดตามพัฒนาการเด็กปฐมโดย กิจกรรมกีฬาพัฒนาการเป็นเลิศ
1.ครู และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น
2.ครู และผู้ปกครองรับรู้ผลกระทบพัฒนาการล่าช้า และตระหนักและให้ความสำคัญถึงการส่งเสริม
พัฒนาการเด็กปฐมวัยมากขึ้น
3.ครูและผู้ปกครองรับรู้วิธีการส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้อง และสามารถปฏิบัติได้อย่างยั่งยืน
4.เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2567 11:09 น.