กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและส่งเสริมให้นักเรียนสูงดีสมส่วนด้วยสุขบัญญัติ 10 ประการ โรงเรียนบ้านศรีนคร ต.คีรีเขต อ.ธารโต จ.ยะลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและส่งเสริมให้นักเรียนสูงดีสมส่วนด้วยสุขบัญญัติ 10 ประการ โรงเรียนบ้านศรีนคร ต.คีรีเขต อ.ธารโต จ.ยะลา
รหัสโครงการ 67-L4118-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านศรีนคร
วันที่อนุมัติ 1 สิงหาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 59,870.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปริญญา โทบุรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคีรีเขต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.153,101.116place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้และการทำกิจกรรมต่างๆของเด็กวัยเรียนวัยรุ่น ซึ่งสุขภาพดีนั้น หมายถึง ความสมบูรณ์ แข็งแรงของร่างกาย จิตใจ และอยู่ในสังคมได้อย่างดีมีความสุข เด็กซึ่งอยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโตและการเรียนรู้ การดูแลและส่งเสริมสุขภาพให้ มีความสมบูรณ์ จะทำให้มีสมรรถภาพในการเรียน มีความสามารถเรียนรู้ได้เต็มที่ และร่างกายเจริญเติบโตมีพัฒนาการอย่างสมวัย แต่ในทางตรง ข้าม หากไม่ดูแลสุขภาพหรือทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ จะทำให้เกิดการเจ็บป่วย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดำรง ชีวิตประจำวัน สุขบัญญัติเป็นข้อปฏิบัติขั้นพื้นฐานในการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน เป็นการสร้างเสริมสุขภาพ และลดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคภัยใช้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ สุขบัญญัติจึงเป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อการมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ การเจ็บป่วย และการเกิดปัญหาสุขภาพจะน้อยลง การดำเนินงานดูแลสุขภาพของเด็กวัยเรียนวัยรุ่นจำเป็นต้องมีการดำเนินงานควบคู่ทั้งในด้านการแก้ปัญหา สุขภาพเฉพาะประเด็นและการส่งเสริมสุขภาพองค์รวม โดยใช้กลยุทธ์การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ(Health Literacy) พฤติกรรมสุขภาพที่ พึงประสงค์ และพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพโดยมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เน้นกิจกรรมการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ การฝึกทักษะสุขภาพ และจัดการปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยใช้หลักการ V-Shape มาใช้ในการออกแบบกิจกรรม เพื่อให้เด็กมีความ รอบรู้ด้านสุขภาพ และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสถานศึกษามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมให้เด็กวัย เรียนวัยรุ่นได้มีการเรียนรู้ทักษะสุขภาพ กระตุ้นเตือนให้เกิดความตระหนักต่อการให้ความสำคัญและใส่ใจในการดูแลสุขภาพในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะ ส่งผลให้เด็กวัยเรียนวัยรุ่นมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม โดยมีวิธีการและกิจกรรมที่หลากหลาย เหมาะกับบริบทของแต่ละพื้นที่ ทั้งการสอน การจัดปัจจัยแวดล้อม และการจัดกิจกรรมด้านสุขภาพต่างๆ ซึ่งเป็นการสร้างและพัฒนาขีดความสามารถ ทักษะทางด้านการคิดด้วยปัญญา และทักษะปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ในการเข้าถึง ทำความเข้าใจ และประเมินข้อมูลข่าวสารทางสุขภาพและ บริการสุขภาพ ที่ได้รับการถ่ายทอดและเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้เกิดการจูงใจตนเองให้มีการตัดสินใจเลือกวิถีทางในการดูแลตนเอง จัดการสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันและคงรักษาสุขภาพที่ดีของตนเอง รวมถึงสามารถบอกต่อ แนะนำพฤติกรรมสุขภาพที่ดีสู่ผู้อื่นได้อย่างยั่งยืน จากรายงานงานอนามัยโรงเรียน โรงเรียนบ้านศรีนคร ภาคเรียนที่ ๑ ปี ๒๕๖๗ (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗) ใน ระดับประเทศพบภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนอายุ ๖-๑๔ ปีสูงดีสมส่วน ร้อยละ ๖๗.๖๘ (ค่าเป้าหมายร้อยละ ๖๖) เด็กวัยเรียนอายุ ๖-๑๔ ปีเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ ๑๑.๕๘ (ค่าเป้าหมายไม่เกินร้อยละ ๑๐) เด็กวัยเรียนอายุ ๖-๑๔ ปี มีภาวะผอม และเตี้ย (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ ๕) พบร้อยละ ๓.๘๙ และ ๖.๗๕ ตามลำดับ และพบภาวะโภชนาการของเด็ก วัยเรียนอายุ ๖-๑๔ ปีสูงดีสมส่วน ร้อยละ ๖๔.๑๔ (ค่าเป้าหมาย ร้อยละ ๖๖) เด็กวัยเรียนอายุ ๖-๑๔ ปี เริ่มอ้วนและอ้วน (ค่าเป้าหมายไม่เกินร้อยละ ๑๐) ร้อยละ ๑๔.๗๕ เด็กวัยเรียนอายุ ๖-๑๔ ปีภาวะผอม และเตี้ย (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ ๕) พบร้อยละ ๓.๖๙ และ ๖.๗๖ ตามลำดับ ส่วนสูงเฉลี่ย ของเด็กอายุ ๑๒ ปี ในเทอม ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๗ในระดับประเทศ พบเพศชายส่วนสูงเฉลี่ย๑๔๗.๗๙เซนติเมตร (ชายควรสูง ๑๕๔ เซนติเมตร) เพศหญิงส่วนสูงเฉลี่ย ๑๔๘.๔๗ เซนติเมตร (หญิง ควรสูง ๑๕๕ เซนติเมตร) พบว่า เพศขายมีส่วนสูงเฉลี่ย ๑๔๗.๘๑ เซนติเมตร เพศหญิงมีส่วนสูงเฉลี่ย ๑๔๗.๙๖ เซนติเมตร จากความสำคัญข้างต้นดังกล่าวจะเห็นได้ว่าปัญหาส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการที่นักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อสุขภาพ โดยรวมทางโรงเรียนบ้านศรีนคร ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพดังกล่าวจึงเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ เพื่อทำโครงการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและส่งเสริมให้นักเรียนสูงดีสมส่วนด้วยสุขบัญญัติ ๑๐ ประการโรงเรียนบ้านศรีนคร ต.คีรีเขต อ.ธารโต จ.ยะลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนใช้เป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง

 

2 เพื่อสร้างกระแสในการดูแลสุขภาพกาย - จิต ด้วยแนวทางสุขบัญญัติ 10 ประการ

 

3 เพื่อให้โรงเรียนบ้านศรีนครมีนักเรียนต้นแบบตามเกณฑ์โรงเรียนสุขบัญญัติ 10 ประการ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยสุขบัญญัติ 10 ประการ
  2. เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ให้เด็กวัยเรียน มีทักษะสุขภาพ และมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ด้านการบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย การนอนหลับ และทันตสุขภาพ ตามแนวทางโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ              3. โรงเรียนบ้านศรีนครมีนักเรียนต้นแบบตามเกณฑ์โรงเรียนสุขบัญญัติ 10 ประการ
  3. โรงเรียนบ้านศรีนครเป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องโรงเรียนสุขบัญญัติ 10 ประการในปี 2567
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2567 13:42 น.