โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2567
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L3050-02-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลหนองแรต |
วันที่อนุมัติ | 8 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 22 สิงหาคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 28 กุมภาพันธ์ 2568 |
งบประมาณ | 30,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายฮิบรอเฮ็ง คาเร็ง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด | 80.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำ ให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจานวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจานวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้นมีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นการคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่ เป็นไปอย่างรวดเร็วนอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ชุกชุมและมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน หรือการติดเชื้อซ้ำซึ่งมีผลต่อการระบาดและแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกด้วย
และด้วย เดือนมกราคม 2567 ถึง เดือน กรกฎาคม 2567 ในอำเภอยะหริ่งและตำบลหนองแรตเกิดโรคไข้เลือดออกระบาดในพื้นที่ และมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในตำบลหนองแรตมีผู้ป่วยประจำเดือน กรกฎาคม จำนวน 5 ราย ติดต่อกันทุกสปดาห์และมีแนวโน้มผู้ป่วยจะเพิ่มอีก ในการนี้ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเขตตำบลหนองแรต ขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ “โรคไข้เลือดออก” ก่อนฤดูการระบาด และช่วงเกิดโรคระบาด เพื่อลดโอกาสการสัมผัสระหว่างมนุษย์กับแมลงพาหะนาโรค ซึ่งเป็น การลดความเสี่ยงของประชาชนในชุมชนต่อการติดเชื้อโรคไข้เลือดออก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ) |
80.00 | 50.00 |
2 | 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 2 . เพื่อลดดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า CI ในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10 |
25.00 | 10.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 30,000.00 | 2 | 6,500.00 | |
22 - 30 ส.ค. 67 | จัดประชุมทีมเคลื่อนที่เร็ว SRRT ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำนักเรียน ครูอนามัยโรงเรียน แกนำชุมชน เพื่อสร้างเครือข่ายควบคุมโรคเข้มแข็ง ในเขตตำบลหนองแรต | 0 | 3,750.00 | ✔ | 3,750.00 | |
2 - 30 ก.ย. 67 | 2. จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ รณรงค์ไข้เลือดออกในชุมชน | 0 | 2,750.00 | ✔ | 2,750.00 | |
15 ก.ย. 67 - 31 ธ.ค. 67 | กิจกรรมควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน | 0 | 23,500.00 | - |
๑. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากรแสนคน
๒. ไม่มีรายงานพบชุมชนที่มีการเกิดโรคใน generation ที่ ๒ ในผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
๓.ค่าHouse Index น้อยกว่าหรือเท่า 10 (HI ≤10) ค่าBreteau Index น้อยกว่าหรือเท่า 50 (BI < 50) ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของชุมชน และค่า Container Index น้อยกว่าหรือเท่า 10 (CI ≤ 10) ในสถานบริการต่างๆ เช่น โรงเรียน วัด ศูนย์บริการสาธารณสุข และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ฯลฯควรมีค่า CI = 0 ร้อยละ ๑๐๐
๔. ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออก
๕. การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
๖. เพื่อสร้างความเข้มแข็งของทีมเคลื่อนที่เร็ว SRRT (SURVEILLANCE AND RAPID RESPONSE TEAM) ในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2567 10:03 น.