กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 17/2567
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง
วันที่อนุมัติ 12 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 สิงหาคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2567
งบประมาณ 44,730.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารียานา มะนอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากร เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพดี ปัญหาด้านสุขภาพที่พบบ่อยในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อแม่และทารกในครรภ์ได้แก่ ภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ หรือทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย สตรีตั้งครรภ์จึงควรได้รับการประเมินภาวะเสี่ยง และได้รับการดูแลตามระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์ การนัดตรวจ การคัดกรองปัญหาสุขภาพที่ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ ให้การรักษาให้การแนะนำ ให้ตระหนักและเฝ้าระวังปัญหาฉุกเฉินระหว่างตั้งครรภ์ ปัจจุบันข้อมูลอนามัยแม่และเด็กของตำบลกรงปินัง ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ สามี ญาติ ในขณะตั้งครรภ์การฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ และแม่ตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี ปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ ของมารดาที่ตั้งครรภ์ ส่งผลให้มารดาที่ตั้งครรภ์เจ็บป่วยและคลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดมีสุขภาพไม่แข็งแรง และมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ซึ่งสาเหตุเกิดอาจเกิดจากหญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีด หญิงตั้งครรภ์ดูแลตนเองในเรื่องโภชนาการอาหารไม่ดีนักในขณะตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ซึ่งมีสาเหตุมาจากการคลอดก่อนกำหนด การมีภาวะทุพโภชนาการของมารดา และปัญหาหญิงตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยและไม่ได้คุมกำเนิดและปัญหาการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ มากกว่า 12 สัปดาห์ และการฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ จากสภาพปัญหาการดำเนินงานจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา
หนังสือจังหวัดยะลา ด่วนที่สุด ที่ ยล 0023.2/ว 509 ลงวันที่ 18 มกราคม 2566 แจ้งนโยบายของกระทรวงมหาดไทย โดยแจ้งว่า คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในฐานะคณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร ได้ดำเนินโครงกาสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อลดอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนด จึงให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รับทราบนโยบายและซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติของกระทรวงมหาดไทยเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด โดยองค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 67 (6) และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 หมวด 2 มาตรา 16 (10) และ (19) องค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินังได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ จึงได้จัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด ประจำปี 2567 ขึ้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ และให้ทารกที่คลอดมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็น ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดให้ได้รับการวางแผนการดูแลรายบุคคลด้วยกิจกรรมบริการทางการแพทย์ การให้ความรู้ และการติดตามอย่างต่อเนื่อง 2.เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองก่อนการตั้งครรภ์ 3.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์และการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด 4.เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.กิจกรรมสำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ตำบลกรงปินังร่วมกับ อสม. ผู้นำชุมชนและภาคประชาชน 2.กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้และความตระหนักถึงอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด โดยจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ เช่น ไวนิล แผ่นโปสเตอร์ แผ่นพับ ไลน์ เฟสบุ๊ค
3.กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธ์เกี่ยวกับการดูแลตนเองก่อนการตั้งครรภ์ 4.กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์และการสังเกตอาการเพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด


-3- 5. กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด โดยองค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินังร่วมกับหญิงตั้งครรภ์ ภาคประชาชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ชุมชน ผดุงครรภ์โบราณและ อสม. 6.ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ 7.สรุป/ประเมินผลโครงการ 1.กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้และความตระหนักถึงอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2x2.4 เมตร  จำนวน 1 ผืน    เป็นเงิน 720.00  บาท - ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ ขนาด A3 จำนวน 20 แผ่นๆละ 60 บาท  เป็นเงิน 1,200.00  บาท     รวมเป็นเงิน 1,920.00  บาท 2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 110 คนๆละ 35 บาท x 2 มื้อ  เป็นเงิน 7,700.00  บาท - ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 110 คนๆละ 80 บาท x 1 มื้อ  เป็นเงิน 8,800.00  บาท - ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท  เป็นเงิน 3,600.00  บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม (สมุด ปากกา กระเป๋าใส่เอกสาร) จำนวน 110 ชุดๆละ 90 บาท     เป็นเงิน 9,900.00  บาท     รวมเป็นเงิน 30,000.00  บาท 3.กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แพทย์แผนไทย และผู้นำชุมชน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 35 บาท x 2 มื้อ  เป็นเงิน 3,500.00  บาท - ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 80 บาท x 1 มื้อ  เป็นเงิน 4,000.00  บาท - ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท  เป็นเงิน 3,600.00  บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม (สมุด ปากกา กระเป๋าใส่เอกสาร) จำนวน 19 ชุดๆละ 90 บาท   เป็นเงิน 1,710.00  บาท     รวมเป็นเงิน 12,810.00  บาท             รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 44,730.00 บาท(สี่หมื่นสี่พันเจ็ดร้อยสามสิบบาทถ้วน)                            หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชุมชนมีส่วนร่วมในการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดให้ได้รับการวางแผนการดูแลรายบุคคลด้วยกิจกรรมบริการทางการแพทย์ การให้ความรู้ และการติดตามอย่างต่อเนื่อง 2.หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองก่อนการตั้งครรภ์ 3.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์และการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด 4.ภาวะคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2567 11:49 น.