กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ ในพื้นที่ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 20/2567
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลกรงปินัง
วันที่อนุมัติ 12 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 สิงหาคม 2567 - 7 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2567
งบประมาณ 27,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารีแย สะอะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค มีระบบข้อมูลที่ทันสมัย มีการคาดการณ์สถานการณ์โรคที่อาจเกิดการระบาด และโรคที่ต้องเฝ้าระวังจากข้อมูลการระบาดและปัจจัยแวดล้อมที่เกิดขึ้น สามารถพยากรณ์โรคได้ และกำหนดมาตรการป้องกันควบคุมโรคได้อย่างเหมาะสม โดยในปีนี้จะมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีการคาดการณ์ไว้ว่า ในปี 2567 นี้ อาจพบการระบาดของโรค 3 โรค ดังนี้     1) โรคโควิด 19 ถือเป็นโรคที่ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง แม้ประชาชนส่วนใหญ่จะมีภูมิคุ้มกัน สามารถลดความรุนแรงเมื่อติดเชื้อ แต่ต้องเฝ้าระวังในกลุ่มเปราะบาง 608 เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวายเรื้อรัง โรคอ้วน มะเร็ง และหญิงตั้งครรภ์ ที่ต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง หากไปในสถานที่เสี่ยงให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ โดยปี 2566 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยทั้งหมด 652,868 ราย เสียชีวิต 848 ราย จึงได้มีการคาดการณ์ว่าปี 2567 จะพบผู้ป่วยประมาณ 649,520 ราย 2) โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเช่นเดียวกันกับ      โรคโควิด 19 มีความรุนแรงสามารถทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน ซึ่งประชาชนสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนโควิดได้พร้อมกันปีละ 1 ครั้ง ข้อมูลสถานการณ์ในปี 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 460,325 ราย เสียชีวิต 29 ราย และคาดการณ์ว่าในปี 2567 จะพบผู้ป่วยประมาณ 346,110 ราย              และ 3) โรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะ โดยในปี 2566 พบผู้ป่วยทั้งหมด 156,097 ราย เสียชีวิต 187 ราย และคาดการณ์ว่าในปี 2567 จะพบผู้ป่วยประมาณ 276,945 ราย เสียชีวิต 280 ราย ดังนั้นประชาชนทุกคนต้องช่วยกันเก็บบ้าน เก็บขยะ เก็บภาชนะให้สะอาดเรียบร้อย ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย นอกจากนี้โรคที่คาดการณ์ว่าจะเกิดการระบาด กรมควบคุมโรคยังคงเฝ้าระวังโรคที่มีโอกาสเกิดการระบาดและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นโรคตามฤดูกาล หรือโรคที่เป็นปัญหาเฉพาะกลุ่ม ประกอบด้วย 12 โรค ดังนี้ 1.โรคมือเท้าปาก 2.โรคหัด 3.โรคฝีดาษวานร 4.โรคเมลิออยโดสิส (ไข้ดิน)      5.โรคไข้ฉี่หนู 6.โรคไข้หูดับ 7.โรคไวรัสซิกา 8.โรคชิคุนกุนยา (ไข้ปวดข้อยุงลาย) 9.โรคซิฟิลิส 10.โรคหนองใน 11.โรคเอดส์ และ 12.โรควัณโรค
สถานการณ์โรคติดต่อตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 – 2566 มีผู้ป่วย      โรคโควิด19 รวมทั้งหมด 1,372 ราย ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งหมด 1,637 ราย และผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก รวมทั้งหมด 71 ราย นอกจากนี้ยังพบว่าความคลอบคลุมของการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคใหม่เสมหะพบเชื้อ  (TB case detection) ยังไม่บรรลุเป้าหมายโดยภาพรวม (ร้อยละ ๗๐) ซึ่งต้องเร่งรัดในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มประชากรด้อยโอกาส และกลุ่มเสี่ยงต่างๆให้คลอบคลุม ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการคัดกรองวัณโรคได้แก่ 1.ผู้สัมผัสวัณโรคร่วมบ้าน 2.ผู้ป่วย HIV 3.ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล/HbA1C>7 4.ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปมีโรคปอด 5.ผู้ใช้สารเสพติด/ติดสุราเรื้องรัง ซึ่งกลุ่มสงสัยทั้งหมดได้การคัดกรองเพียงร้อยละ 30 ยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกรงปินัง ได้ดำเนินการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ในฐานะมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแลด้านส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับประชาชน ทั้งที่บ้านและในชุมชน ให้สามารถเข้าถึงบริการและได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง ได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชน อันได้แก่ การเกิดอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ การป้องกันโรคต่างๆจึงได้จัดทำโครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ ในพื้นที่ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ปีงบประมาณ 2567 เพื่อทำให้ผู้ที่มีอาการสงสัยป่วยด้วยโรคติดต่อได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่งเป็นการตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อและลดอัตราการเสียชีวิตจากการป่วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1.การอบรมฟื้นฟูและให้ความรู้เรื่องป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และภัยพิบัติในพื้นที่ แนวทางการรักษา ตรวจคัดกรองเบื้องต้น แนวทางการรักษา และส่งต่อ สำหรับทีมเฝ้าระวังโรคระดับตำบล/และภาคประชาชน(อสม./อสค.)กลุ่มเป้าหมาย ทีมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคระดับหมู่บ้าน จำนวน 30 คน กิจกรรมที่ 2.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และภัยพิบัติในพื้นที่ สำหรับผู้กลับจากประกอบพิธีฮัจย์ และประชาชนกลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย 50 คน กิจกรรมที่ 3.ทีมเฝ้าระวังโรคระดับหมู่บ้าน/อสม./อสค./ลงพื้นที่ติดตามพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่ม และผู้กลับจากประกอบพิธีฮัจย์ กลุ่มเป้าหมาย ทีมเฝ้าระวังโรคระดับหมู่บ้าน จำนวน 30 คน 3.กลุ่มเป้าหมาย 3.1 กลุ่มเป้าหมาย: ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่มและผู้กลับจากประกอบพิธีฮัจย์ จำนวน 50 คนทีมเฝ้าระวังโรคระดับหมู่บ้าน/อสม./อสค./ จำนวน 30 คน  รวมทั้งหมด 80 คน 3.2 พื้นที่ดำเนินการ : หมู่ที่ 7 ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา 4.ระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างเดือน 1กรกฎาคม 2567 – 30 กันยายน 2567

5.สถานที่ดำเนินการ มัสยิด หมู่ที่ 7 ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา 6.งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง  ประจำปี 2567
จำนวนเงิน 27,150 บาท (สองหมื่นเจ็ดพันหนึ่งร้อยห้าสิบบาทถ้วน) รายละเอียดดังต่อไปนี้ กิจกรรมที่ 1. การอบรมฟื้นฟูและให้ความรู้เรื่องป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่    โรคอุบัติซ้ำ ในพื้นที่ แนวทางการรักษา ตรวจคัดกรองเบื้องต้น แนวทางการรักษา และส่งต่อ สำหรับทีมเฝ้าระวังโรคระดับตำบล/และภาคประชาชน(อสม./อสค.)  กลุ่มเป้าหมาย ทีมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคระดับหมู่บ้าน    จำนวน 30 คน - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆ ละ 80 บาท×1มื้อ            เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆละ 35 บาท×2มื้อ      เป็นเงิน 2,100 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน ชั่วโมงละ 300บาท*6ชั่วโมง            เป็นเงิน 1,800 บาท                                         รวมเป็นเงิน 6,300 บาท         กิจกรรมที่ 2. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ ในพื้นที่ สำหรับผู้กลับจากประกอบพิธีฮัจย์ และประชาชนกลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย 50 คน - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 80 บาท×1มื้อ    เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 35 บาท×2มื้อ    เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน ชั่วโมงละ 300บาท×6ชั่วโมง    เป็นเงิน 1,800 บาท                                             รวมเป็นเงิน 9,300 บาท       กิจกรรมที่ 3. ทีมเฝ้าระวังระดับหมู่บ้าน/อสม./อสค./และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ลงพื้นที่ติดตามพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย ทีมเฝ้าระวังระดับหมู่บ้าน จำนวน 30 ราย -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆละ 35 บาท×1 มื้อ    เป็นเงิน 1,050 บาท -ป้ายไวนิลสื่อประชาสัมพันธ์โรคระบาด ขนาด 1×2 เมตร
จำนวน 2 ป้ายๆละ 1,000 บาท                          เป็นเงิน 2,000 บาท
-ค่าทรายอะเบท จำนวน 1 ถัง ถังละ 3,500 บาท    เป็นเงิน 3,500 บาท -ค่าโลชั่นกันยุง ขนาด 30 ml จำนวน 100 ขวด ขวดละ 50 บาท    เป็นเงิน 5,000 บาท                                     รวมเป็นเงิน 11,550 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 27,150 บาท (สองหมื่นเจ็ดพันหนึ่งร้อยห้าสิบบาทถ้วน) หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เครือข่ายสุขภาพชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันควบคุมโรคโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ  ในพื้นที่และสามารถให้มีการดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  2. ประชาชนสามารถป้องกันโรคควบคุมโรคโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ ด้วยตนเอง
  3. ประชาชนมีความตระหนักในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคควบคุมโรคโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ    ในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2567 15:47 น.