โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ชื่อโครงการ | โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก |
รหัสโครงการ | 08-L7001-67 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลมายอ |
วันที่อนุมัติ | 19 มีนาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 สิงหาคม 2567 - 30 สิงหาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 23,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวเจ๊ะฟารีด๊ะ อับดุลสอมัด |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลมายอ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.71,101.425place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 197 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่และรายเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ แต่อัตราการอยู่รอด 5 ปี การตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตาย จากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ รศ.นพ.วิชัย เติมรุ่ง เรืองเลิศ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกว่า เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยและมีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดในผู้หญิงไทยในช่วงอายุ 25-65 ปี โดยมีอัตราการตรวจพบผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 10,000 ราย และมีอัตราผู้เสียชีวิต 5,000 ราย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50 ซึ่งหมายความว่า ในแต่ละวันจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกถึง 14 ราย ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่สามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ ถ้าพบว่าการสามารถตรวจวินิจฉัยและการให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือตรวจพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสมและทันเหตุการณ์ ดังนั้นถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าวพร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูก ทำให้สามารถลดอุบัติการณ์ และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจและสืบค้นได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติ และการดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไป การตรวจค้นหาความผิดปกติของปากมดลูก โดยการทำ Pap smear จึงมีประโยชน์ เพราะได้มีการพิสูจน์อย่างแน่ชัดแล้วว่าสามารถตรวจพบความผิดปกติของเซลล์ที่ปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก่อนที่จะเป็นโรคมะเร็ง ทำให้สามารถรักษาให้หายได้(การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก: สถาบันมะเร็งแห่งชาติฯ) ร้อยละ 20 ของกลุ่มสตรีที่มีอายุระหว่าง 30-60 ปี ต้องได้รับการตรวจหามะเร็งปากมดลูก จากการปฏิบัติงานสาธารณสุขทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลและฟื้นฟู เจ้าหน้าที่สุขภาพชุมชนตำบลมายอและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่าที่ผ่านมากลุ่มเป้าหมายไม่ค่อยมารับบริการทั้งนี้เพราะสตรีเป็นเพศที่มีความละอาย มีความอดทนสูงนี้ก็อาจจะเป็นทั้งคุณและโทษในคราวเดียวกันได้ เช่น เมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องของอวัยวะเพศแล้วไม่กล้าพูด ไม่กล้าบอกใคร ถึงเจ็บปวดก็มีความอดทน สิ่งนี้หากเขาเป็นโรคร้ายก็อาจสายเกินแก้ที่ไม่สามารถช่วยได้ในภายหลังและประกอบกับได้พบเห็นผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้รับความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก ในการนี้ถ้ากลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์มารับการตรวจเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ สามารถค้นหาโรคมะเร็งในมะเร็งในระยะเริ่มต้น สามารถให้การช่วยเหลือ ดูแล รักษาได้ ผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องทุกข์ทรมานมากและสามารถมีอายุที่ยืนยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- กลุ่มเป้าหมายมารับบริการตรวจ ได้อย่างครอบคลุม
- เจ้าหน้าที่บันทึก ผลการคัดกรองโดยวิธี HPV DNA Test ลงในโปรแกรม มะเร็งปากมดลูก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2567 10:47 น.