โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารุลญันนะห์
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารุลญันนะห์ |
รหัสโครงการ | 66 – L7580 - 3 - 02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารุลญันนะห์ |
วันที่อนุมัติ | 6 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 6 สิงหาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 19,410.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวรอรำล๊ะ หมาดสา ครู ทำหน้าที่ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารุลญันนะห์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.725,100.035place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กระทรวงสาธารสุข ได้รายงานว่า ในแต่ละปีไทยมีเด็กเกิดใหม่กว่า 7 แสนคน ทำให้มีเด็กก่อนวัยเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี เกือบ 4 ล้านคน จำนวนนี้ครึ่งหนึ่งเป็นเด็กอายุระหว่าง 2 ปี ถึง 3 ปีร่วมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน ทำให้สภาพครอบครัว เป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่หรือผู้ปกครองเด็กต้องทำงานนอกบ้าน ไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรหลานตนเอง ในช่วงเวลากลางวัน เด็กกลุ่มนี้จึงถูกนำไปฝากเลี้ยงในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลจำนวนมาก ซึ่งเป็นสถานที่ ที่เด็กอยู่รวมกันจำนวนมาก และมีมากกว่า 19,000 แห่ง ผลที่ตามมาคือศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลจึงเป็นสถานที่เด็กจำนวนมากอาศัยอยู่รวมกัน เมื่อเด็กคนใดคนหนึ่งเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ ซึ่งการเจ็บป่วยหรือโรคติดต่อนี้ ก็จะแพร่กระจายไปสู่ เด็กคนอื่นๆได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้เด็กต้องหยุดเรียนจำนวนมาก ติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายวันหรือแม้กระทั่ง ปิดโรงเรียนชั่วคราว เพื่อทำความสะอาดและเพื่อลดปัจจัยที่จะนำไปสู่การระบาดมากยิ่งขึ้น เช่น การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก เป็นต้น
จากสถานการณ์ดังกล่าวศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารุลญันนะห์ได้ตระหนักและมองเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้นหากไม่ดำเนินการป้องกันและแก้ไขเร่งด่วน จะส่งผลต่อพัฒนาการทั้งในด้านสมอง ร่างกาย และจิตใจ ของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารุลญันนะห์จึงได้ร่วมมือกับผู้ปกครองจัดทำโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารุลญันนะห์ เพื่อเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง ในการป้องกัน เฝ้าระวังรักษาสุขภาพบุตรหลานของตนเองได้อย่างถูกต้อง อนึ่งการดำเนินงานโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้นักเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารุลญันนะห์ ประจำปีการศึกษา 2567 มีคุณภาพ ทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ-อารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาที่ดีสมวัยต่อไป
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารุลญันนะห์จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารุลญันนะห์ เพื่อเป็นการดูแลนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารุลญันนะห์ ประจำปีการศึกษา 2567 อย่างต่อเนื่อง โดยจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในการให้ความรู้และเพิ่มทักษะ ในการเฝ้าระวังสุขอนามัย และเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย มีความรู้ในการคัดเลือกอาหารและเตรียมอาหารให้กับเด็กที่ถูกต้อง ตามหลักโภชนาการในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัย และผู้ปกครองเด็กปฐมวัยรู้จักสังเกตอาการเบื้องต้น ของโรคติดต่อชนิดต่างๆ และสามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างทันท่วงทีรวมไปถึงการดูแลสุขภาพทางช่องปาก การแปรงฟันที่ถูกวิธี อนึ่งการจัดโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และมีพัฒนาการ ที่เหมาะสมกับช่วงวัย ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา มีความรู้ ทักษะ คุณธรรมจริยธรรมและจิตสำนึกที่พึงประสงค์และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจในด้านการดูแลสุขภาพ ของเด็กในช่วงปฐมวัย ในเรื่องการแปรงฟัน พฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก โภชนาการและโรคติดต่อ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในด้านการดูแลสุขภาพ ของเด็กในช่วงปฐมวัย ในเรื่องการแปรงฟัน พฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก โภชนาการและโรคติดต่อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 100 |
100.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเฝ้าระวังสุขภาพของบุตรหลานตนเองที่บ้าน ได้อย่างถูกต้อง จำนวนเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะการเจ็บป่วยทางสุขภาพลดลงร้อยละ 20 จากปีที่ผ่านมา |
20.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
6 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | อบรมเชิงปฏิบัติการ | 70 | 19,410.00 | ✔ | 19,410.00 | |
รวม | 70 | 19,410.00 | 1 | 19,410.00 |
ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง มีความรู้ ความเข้าใจในด้านการดูแลสุขภาพ ของเด็กในช่วงปฐมวัย สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเฝ้าระวังสุขภาพของบุตรหลานตนเองที่บ้าน ได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้จำนวนเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะการเจ็บป่วยทางสุขภาพลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2567 14:26 น.