กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนในการใช้รถจักรยานยนต์ รับ-ส่ง เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพรุจูด ประจำปี 2567

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนในการใช้รถจักรยานยนต์ รับ-ส่ง เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพรุจูด ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67–L8429-03-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพรุจูด
วันที่อนุมัติ 17 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,510.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวณพรรน์สร อรรถชัยยะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.569505428,99.33580733place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 5,510.00
รวมงบประมาณ 5,510.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 13 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการที่เด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 99 % สาเหตุเกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัย โดยรายงานของสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ยังเผยว่า มีเด็กไทยเพียง 7 % เท่านั้นที่ใส่หมวกนิรภัยระหว่างการเดินทาง ซึ่งอัตราการใช้หมวกนิรภัยจำนวนน้อยนี่เอง สะท้อนให้เห็นถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าภัยอันตรายรอบตัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดฝัน และเป็นเรื่องที่น่ากังวลที่พ่อแม่และผู้ปกครองหลายๆ คน      ไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการให้บุตรหลานสวมใส่หมวกนิรภัยขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ แล้วก็ยังมีอีก  หลายครอบครัวที่แม้จะสวมหมวกนิรภัยให้เด็ก แต่กลับไม่รู้ว่าจะเลือกใช้หมวกนิรภัยที่มีคุณภาพ มีขนาดพอดีกับ  ศีรษะเด็ก และจะสวมใส่หมวกนิรภัยให้เด็กอย่างถูกวิธีได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้ การรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยและได้มาตรฐาน รวมถึงการเรียนรู้วิธีการใช้ถนนอย่างถูกต้อง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการป้องกันและสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัยบนท้องถนน เพื่อลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุ ดังนั้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องในการใช้ถนน การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เด็ก พ่อแม่ และผู้ปกครอง ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้หมวกนิรภัย  พร้อมอบรมการใช้งานที่ถูกวิธี ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในการช่วยลดจำนวนตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ถือเป็นอนาคตของชาติศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลด่านนอก ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนของนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลด่านนอกและเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยไว้หลายมาตรา  คือมาตรา 54 วรรคสอง กำหนดว่า “รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา    เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย” มาตรา 258 ให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศให้เกิดผล          จ. ด้านการศึกษา (1) ให้สามารถเริ่มดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา ตามมาตรา 54 วรรคสอง เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545) และฉบับที่ 3  (พ.ศ. 2553) มาตรา 18 (1) กำหนดให้การจัดการศึกษาปฐมวัยจัดในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ศูนย์เด็กเล็ก  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมาตรา 13 (1) ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ในการสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 ในยุทธศาสตร์ที่ 3    การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เป้าหมายข้อ 3.3 สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาสามารถจัดกิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ศูนย์  เด็กเล็ก/ สถานศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้คุณภาพและมาตรฐานเพิ่มขึ้น สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย และสมรรถนะของเด็กที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานคุณภาพเด็กปฐมวัยของอาเซียนเพิ่มขึ้น สถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการศึกษาตามหลักสูตร      ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพิ่มขึ้นโดยแนวทางการพัฒนาส่งเสริมให้  เด็กเล็ก (0 - 2 ปี) ได้รับการดูแลและพัฒนาที่สมวัยรอบด้านอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง มีการปรับระบบการบริหารจัดการการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก (0 - 2 ปี) และการศึกษาปฐมวัย (3 - 5 ปี) ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรและคู่มือการเตรียมความพร้อมพ่อแม่และการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กเล็กให้มีพัฒนาการตามวัย และพัฒนาหลักสูตรการศึกษาระดับปฐมวัย สมรรถนะเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาเซียนและระดับสากล เพื่อการพัฒนาคุณภาพและพัฒนาการรอบด้านสมวัยของเด็กปฐมวัย (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย    พ.ศ. 2561 - 2564 ได้กำหนดนโยบายด้านเด็กปฐมวัย ไว้ดังนี้ 1. เด็กปฐมวัยทุกคนต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน อย่างมีคุณภาพ ตามศักยภาพ ตามวัยและต่อเนื่อง๒. การพัฒนาเด็กตามข้อ 1 ต้องจัดให้เป็นระบบและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยบูรณาการชัดเจนระหว่างหน่วยงานราชการ และที่ไม่ใช่ราชการ ระหว่างวิชาชีพที่สัมพันธ์กับการพัฒนาเด็กปฐมวัย และระหว่างระดับต่างๆ ของการบริหารราชการแผ่นเดินจากระดับชาติ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น 3. รัฐและทุกภาคส่วนต้องร่วมกันระดมทรัพยากรให้เพียงพอแก่การพัฒนาเด็กปฐมวัยตามนโยบาย ข้อ 1 นอกจากนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการที่พัฒนาเด็กปฐมวัย เป้าประสงค์ที่ 1 สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกแห่งได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ และเป้าประสงค์ที่ 2 คุณภาพของระบบบริการและระบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยได้รับการปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ และปฏิบัติตาม หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท 0816.4/ว256 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในการนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพรุจูด จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนน  ในการใช้รถจักรยานยนต์รับ-ส่งเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยการจัดกิจกรรมอบรมด้านความปลอดภัย    ทางท้องถนนให้กับครู นักเรียน และผู้ปกครอง โดยเน้นให้เด็กๆ เป็นศูนย์กลาง ส่วนครูและผู้ปกครองจะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลและให้ความรู้ที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กๆ ได้เดินทางไปกลับโรงเรียนได้อย่างปลอดภัย และหวังจะลดจำนวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตของเด็กไทยจากอุบัติเหตุทางถนน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยและได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์
  • นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพรุจูดสวมหมวกนิรภัย และได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์อย่างน้อย ร้อยละ 100
2 เพื่อส่งเสริมให้ครูและผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎระเบียบวินัยจราจร รวมถึงการมีจิตสำนึกที่ดีในการใช้รถใช้ถนน
  • ครูและผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎระเบียบวินัยจราจร และการใช้รถใช้ถนนให้ปลอดภัย ร้อยละ 100
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนในการใช้รถจักรยานยนต์ รับ-ส่ง เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพรจูด(9 ก.ย. 2567-9 ก.ย. 2567) 5,510.00              
รวม 5,510.00
1 กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนในการใช้รถจักรยานยนต์ รับ-ส่ง เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพรจูด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 13 5,510.00 2 5,510.00 0.00
11 ก.ย. 67 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนน ในการใช้รถจักรยานยนต์ รับ-ส่ง เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 13 5,510.00 5,510.00 0.00
11 ก.ย. 67 กิจกรรมเตรียมแผ่นพับให้ความรู้ เรื่องความปลอดภัยในการสวมหมวกนิรภัย เมื่อนั่งรถจักรยานยนต์และจัดทำป้ายให้ความรู้ เรื่องการใช้ถนนอย่างถูกต้อง 0 0.00 0.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 13 5,510.00 2 5,510.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพรุจูดสวมหมวกนิรภัยและได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ ร้อยละ 100
  2. ครูและผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบวินัยจราจร และการใช้รถใช้ถนนให้ปลอดภัย ร้อยละ 100
  3. ครูและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบวินัยจราจร รวมถึงการมีจิตสำนึกที่ดีในการใช้รถใช้ถนน อันจะมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาจราจร และช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากผู้ใช้รถใช้ถนนและส่งผลให้นักเรียนได้เดินทางไปกลับโรงเรียนได้อย่างปลอดภัยโดยการสวมใส่หมวกนิรภัยและได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2567 14:33 น.