อบรมให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป หมู่ที่ 4 บ้านท่าคลอง ประจำปีงบประมาณ 2567
ชื่อโครงการ | อบรมให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป หมู่ที่ 4 บ้านท่าคลอง ประจำปีงบประมาณ 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L8409-02-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 |
วันที่อนุมัติ | 15 กรกฎาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 สิงหาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 11,775.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสิริมา มะสะ นางกินรี สลีมิน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.725,100.035place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ถือว่าเป็นภัยเงียบ เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด เป็นต้น จากสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก มีผู้ป่วยจำนวน 463 ล้านคน และคาดการณ์ว่าในปี 2588 จะมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 629 ล้านคน ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาที่สูง เฉพาะโรคเบาหวานเพียงโรคเดียว
ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ยสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปี และโรคเบาหวานยังเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาทิ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งทำให้ภาครัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการรักษารวมกันสูงถึง 302,367 ล้านบาทต่อปี (กระทรวงสาธารณสุข, 2564)
จากสถานการณ์ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฉลุงมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ข้อมูล ณ วันที่ 29 มีนาคม 2567 มีโรคความดันโลหิตสูง 297 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 69 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 104 คน โดยจากการคัดกรองสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฉลุง ปีงบประมาณ 2567 พบกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน 56 คน เข้ารับการตรวจซ้ำ 31 คน และได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวาน 16 คน ส่วนกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง 317 คน ในจำนวนนี้มีเพียง 7 คนที่เข้ารับการตรวจซ้ำและได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีกลุ่มสงสัยป่วยจำนวนมากไม่เข้ารับการตรวจซ้ำ ทั้งที่มีการนัดติดตามแล้วหลายครั้ง เนื่องจากไม่ตระหนักถึงความสำคัญเพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการ ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง มีพฤติกรรมที่ดี และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 4 จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ประจำปีงบประมาณ 2567 นี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพและนำไปปฏิบัติได้ 2. เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปเกิดความตระหนัก ตื่นตัวต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว
|
วิธีดำเนินการ
ขั้นที่ 1 เตรียมการ
1.1ศึกษาข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบ
รพ.สต.บ้านฉลุง
1.2ศึกษาข้อมูลผลการตรวจคัดกรองประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบ
รพ.สต.บ้านฉลุง ปีงบประมาณ 2567
ขั้นที่ 2 ดำเนินการ
2.1เขียนโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง
2.2ดำเนินการขออนุมัติซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
2.3ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.4สื่อสารประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมาย
2.5จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชากรอายุ
35 ปีขึ้นไป โดยมีกำหนดการอบรมตามเอกสารแนบ
ขั้นที่ 3 สรุปผลโครงการ
3.1 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การ
บริหารส่วนตำบลฉลุง
- ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เพิ่มมากขึ้น ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
- ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อกิจกรรม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2567 17:38 น.