โครงการโรคระบาดและภัยพิบัติโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2567
ชื่อโครงการ | โครงการโรคระบาดและภัยพิบัติโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2567 |
รหัสโครงการ | 2567/L1465/5/13 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลโคกยาง |
วันที่อนุมัติ | 5 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 สิงหาคม 2567 - 30 พฤศจิกายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 พฤศจิกายน 2567 |
งบประมาณ | 32,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | องค์การบริหารส่วนตำบลโคกยาง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.509,99.48place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ส.ค. 2567 | 31 ธ.ค. 2567 | 32,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 32,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคในช่วงก่อนฤดูฝน และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ สำหรับมาตรการหลักในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่ยุงลายเป็นพาหะ คือการควบคุมลูกน้ำยุงลายในระยะก่อนเกิดโรค และควบคุมการระบาดของโรคในพื้นที่โดยวิธีการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวแก่ ด้วยเครื่องพ่นหมอกควันในครัวเรือนที่พบผู้ป่วย โดยกำหนดให้มีการฉีดพ่นหมอกควันหรือสเปรย์กำจัดยุง เพื่อป้องกันการเกิดระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 9 ธันวาคม 2566 ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 147,412 ราย อัตราป่วย 222.77 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 161 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.24 สถานการณ์โรคไข้เลือดออก เขต 12 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 14,806 ราย อัตราป่วย 295.89 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 23 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.46 สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดตรัง มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 1,080 ราย อัตราป่วย 169.22 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 4 ราย อัตราป่วย-ตาย 0.63 ต่อแสนประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกยาง ได้รับแจ้งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกยาง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 ถึง วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2567 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกตามการวินิจฉัยทุกประเภท จำนวน 22 ราย โดยพบผู้ป่วยประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 จำนวน 6 ราย และผู้ป่วยประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2567 จำนวน 9 ราย (ที่มา: รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา รพ.สต.โคกยาง ข้อมูล ณ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2567) โดยมีแนวโน้มการระบาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าการระบาดของโรคไข้เลือดออก ของตำบลโคกยางยังอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง จำเป็นต้องได้รับการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ และการมีทรัพยากรในการควบคุมโรคอย่างเพียงพอ
งานสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลโคกยาง มีความตระหนักถึงความสำคัญและความรุนแรงในการเกิดโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการโรคระบาดและภัยพิบัติโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ ๒๕67 ขึ้น เพื่อช่วยลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น |
100.00 | |
2 | เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง |
100.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ส.ค. 67 | ก.ย. 67 | ต.ค. 67 | พ.ย. 67 |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2. การดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออก (ผู้ป่วยที่ได้รับแจ้งจากงานควบคุมโรค รพ.สต. /อสม.)(1 ส.ค. 2567-30 พ.ย. 2567) | 26,000.00 | ||||
2 | 1. กิจกรรมเดินรณรงค์เคาะประตูบ้านในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โรงเรียน และวัดในพื้นที่ตำบลโคกยาง (โดย อสม.ในพื้นที่ตำบลโคกยาง)(14 ส.ค. 2567-14 ส.ค. 2567) | 6,000.00 | ||||
รวม | 32,000.00 |
1 2. การดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออก (ผู้ป่วยที่ได้รับแจ้งจากงานควบคุมโรค รพ.สต. /อสม.) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 130 | 26,000.00 | 0 | 0.00 | 26,000.00 | |
1 ส.ค. 67 - 30 พ.ย. 67 | 2. การดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออก (ผู้ป่วยที่ได้รับแจ้งจากงานควบคุมโรค รพ.สต. /อสม.) | 130 | 26,000.00 | - | - | ||
2 1. กิจกรรมเดินรณรงค์เคาะประตูบ้านในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โรงเรียน และวัดในพื้นที่ตำบลโคกยาง (โดย อสม.ในพื้นที่ตำบลโคกยาง) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 6,000.00 | 0 | 0.00 | 6,000.00 | |
1 ส.ค. 67 - 30 พ.ย. 67 | 1. กิจกรรมเดินรณรงค์เคาะประตูบ้านในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โรงเรียน และวัดในพื้นที่ตำบลโคกยาง (โดย อสม.ในพื้นที่ตำบลโคกยาง) | 0 | 6,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 130 | 32,000.00 | 0 | 0.00 | 32,000.00 |
- เพื่อให้ประชาชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
- อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2567 21:53 น.