โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต เติมเต็มสุขภาพใจ ในกลุ่มสตรี และแม่บ้าน (full-time) ปี 2567
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต เติมเต็มสุขภาพใจ ในกลุ่มสตรี และแม่บ้าน (full-time) ปี 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L2486-2-20 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | มัสยิดบาเดาะมาตี ม.9 ตำบลไพรวัน |
วันที่อนุมัติ | 13 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กันยายน 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2567 |
งบประมาณ | 26,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอัสมี เจ๊ะบือราเฮง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ภาวะซึมเศร้าในกลุ่มสตรี แม่บ้าน | 2.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่าในประชากร 4 คนจะมีผู้มีปัญหาสุขภาพจิต 1 คน และอีก 2 คนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิต เช่น เป็นญาติพี่น้อง คนในครอบครัว เป็นต้น สำหรับโรคทางจิตเวชประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคทางจิตทั้งหมดจำนวน 1,152,044 ราย ส่วนใหญ่จะเริ่มป่วยในช่วงปลายวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ อายุระหว่าง 15-35 ปี ซึ่งเป็นช่วงชีวิตของการทำงานและการสร้างครอบครัว และจากการศึกษาดัชนีวัดความสูญเสียทางสุขภาพ หรือ DALYs พบว่า ในปี พ.ศ. 2562 คนไทยสูญเสียสุขภาวะ (DALYs) ทั้งที่ควรจะมีชีวิตอยู่อย่างสุขภาพดี โดย 10 อันดับแรกสำหรับเพศชายมีโรคซึมเศร้าอยู่ในอันดับที่ 10 และในเพศหญิงโรคซึมเศร้าอยู่อันดับที่ 3 การสำรวจระดับชาติล่าสุดในปี 2561 พบคนไทยร้อยละ 14 หรือ 9 ล้านกว่าคน ข้อมูลจากสมาคมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย พบว่า โรคซึมเศร้าพบมากในเพศหญิงมากกว่า มีหลักฐานจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่า เพศภาวะ (gender) ที่สังคมกำหนดว่าเพศหญิงและเพศชายควรมีบทบาทและพฤติกรรมที่เหมาะสม อย่างไร มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของบุคคล แต่ยังไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์จากการศึกษาในสังคมไทย วัตถุประสงค์ เพื่อเสนอประเด็นเพศภาวะที่มีความเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคซึมเศร้าในผู้หญิงไทย จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะในเพศหญิง เมื่อเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิต เนื่องจากเพศหญิง โดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้าน ที่มีภาระหน้าที่ที่ต้องทำงานตลอดเพื่อดูแล คนใกล้ชิดและครอบครัวชุมชนหากมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดีและมีแนวทางในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตก็จะช่วยลดสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบเหล่านี้ลงได้ การส่งเสริมสุขภาพจิตคือ การส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการดูแลทางสังคมจิตใจให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลตนเอง และอยู่ในสิ่งแวดล้อม ครอบครัว สังคม ชุมชน ที่เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพจิตที่ดีโดยให้สอดคล้องกับสังคมพหุวัฒนธรรม ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพจิตจึงเกิดจากการที่สังคมชุมชนดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนการจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมทั้งร่างกายจิตใจและการที่ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลจิตใจตนเอง และการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต คือ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช โดยการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ความเครียดระยะยาว ความก้าวร้าวรุนแรง และเพิ่มปัจจัยปกป้อง เช่น การให้กำลังใจ การรวมกลุ่มแม่บ้านจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพจิต เติมเต็มจิตวิญญาณโดยใช้แนวคิดศาสนาอิสลามให้มีการบูรณาการร่วมกันอย่างเหมาะสมกับคนในชุมชนมุสลิมของจังหวัดนราธิวาส
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้าง เครือข่ายกลุ่มสตรี เพื่อพัฒนาและส่งเสริมภาวะสุขภาพจิต ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีเครือข่ายกลุ่มสตรี เพื่อพัฒนาและส่งเสริมภาวะสุขภาพจิต |
0.00 | |
2 | เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจโดยใช้คุณธรรม จริยธรรม ตามหลักศาสนาแก่สตรี ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีภูมิคุ้มกันทางใจโดยใช้คุณธรรม จริยธรรม ตามหลักศาสนาแก่สตรี |
0.00 | |
3 | เพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพจิต และได้รับการส่งต่ออย่างทันท่วงที หากเกิดภาวะผิดปกติ ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพจิต และได้รับการส่งต่ออย่างทันท่วงที หากเกิดภาวะผิดปกติ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 26,500.00 | 2 | 26,500.00 | 0.00 | |
1 - 15 ก.ย. 67 | กิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ ด้วยฮาลาเกาะฮ์ ครั้งที่ 1 | 0 | 17,350.00 | ✔ | 17,350.00 | 0.00 | |
15 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพจิตดี เติมเต็มสุขภาพใจ ด้วยฮาลาเกาะฮ์ ครั้งที่ 2 | 0 | 9,150.00 | ✔ | 9,150.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 26,500.00 | 2 | 26,500.00 | 0.00 |
- มีเครือข่ายกลุ่มสตรี เพื่อพัฒนาและส่งเสริมภาวะสุขภาพจิต ดูแลส่งต่อ หรือเป็นกระบอกเสียงให้แก่ผู้โดนกระทำทางด้านจิตใจ
- ผู้รับอบรมมีภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อจิตใจ ไม่เกิดโรคซึมเศร้า มีการจัดการความเครียดอย่างเหมาะสมไม่พบอุบัติการณ์ฆ่าตัวตายของสตรีในเขตตำบลไพรวัน
- กลุ่มแม่บ้านมีสุขภาพจิตดี มีความสุข
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2567 00:00 น.