โครงการหนูน้อยสุขภาพดี
ชื่อโครงการ | โครงการหนูน้อยสุขภาพดี |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลตันหยงมัส |
วันที่อนุมัติ | 25 กรกฎาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 สิงหาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2567 |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลตันหยงมัส |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.311,101.724place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันพบว่าเด็กเล็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 2-5 ปี ส่วนใหญ่ มักจะมีปัญหาเรื่องพัฒนาการ การเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน รวมถึงสุขภาวะทางร่างกาย การเจริญเติบโต ส่วนใหญ่สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาหารการกินสำหรับเด็กในกลุ่มวัยนี้ คือการให้สารอาหารแก่เด็ก เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย ความสำคัญของการกินในเด็ก นอกจากจะต้องคำนึงถึงสารอาหารที่เด็กควรจะได้รับแล้ว การกินอาหารยังเป็นปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างหนึ่งที่เด็กและคนในครอบครัวจะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในช่วงมื้ออาหาร ปัญหาการกิน ได้แก่ ปัญหาเด็กกินยาก ไม่ยอมกินข้าว เบื่ออาหาร กินช้า อมข้าว ชอบกินอาหารฟาดฟู๊ด ขนมขบเคี้ยว อาหารสำเร็จรูป ฯลฯ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยในสังคมไทย เกิดจากความไม่เข้าใจในการพัฒนาการเจริญเติบโตตามวัยของเด็กและไม่เข้าใจถึงหลักโภชนาการ และยังพบปัญหาเรื่องความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งในหลายๆโรคสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งในปัจจุบันพบปัญหาเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆทำให้เกิดความเครียด ความกังวล ต่อผู้ปกครอง และส่งผลกระทบต่อเด็กโดยตรง และหากผู้ปกครองแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ไม่ถูกต้อง ปัญหาเหล่านี้ก็จะทวีคูณความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการป้องกันที่ดี และรีบแก้ไขปัญหาดังกล่าวตั้งแต่เบื้องต้น ซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาการกินในเด็กที่เหมาะสมตามช่วงวัย คือการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ ในการส่งเสริมสุขภาพเด็กแต่ละช่วงวัยให้แก่ผู้ปกครอง ครู/ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กและผู้ที่เกี่ยวข้อง ถึงจะทำการแก้ไขปัญหาข้างต้นนี้ได้ ด้วยเหตุนี้ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลตันหยงมัส จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยสุขภาพดีนี้ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องส่งเสริมพัฒนาการเด็กเพิ่มขึ้น และสามารถนำไปส่งเสริมพัฒนาการของบุตรหลานได้ถูกต้อง ร้อยละ 90 ของเด็กในศูนย์พัฒนาการเด็กเล็กเทศบาลตำบลตันหยงมัสมีพัฒนาการตามวัย |
||
2 | เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน และ นำบุตรหลานไปรับวัคซีนตามเกณฑ์ ร้อยละ 90 ของเด็กในศูนย์พัฒนาการเด็กเล็กเทศบาลตำบลตันหยงมัสได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ |
||
3 | เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการส่งเสริมโภชนาการ และการได้รับอาหารเสริมตามวัย ร้อยละ 90 ของเด็กในศูนย์พัฒนาการเด็กเล็กเทศบาลตำบลตันหยงมัสมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กได้รับความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และส่งเสริมโภชนาการ และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก และแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย
- ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีการส่งเสริมสุขภาพแบบบูรณาการให้เด็กไทยมีสุขภาพดี โดยให้เด็กมีวินัย
มีการเรียนรู้ด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การส่งเสริมพัฒนาการ อาหารและโภชนาการ รู้จักกิน ฉลาดซื้อ รู้คุณค่า - เด็กนักเรียนปฐมวัยมีสุขภาพร่างกายเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2567 16:39 น.