กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการและการเจริญเติบโต (เด็กปฐมวัย)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลาสอง
วันที่อนุมัติ 1 สิงหาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 21,595.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอยฮาน เจ๊ะเละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.821,101.311place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 59 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ การเติบโตของเด็กมีปัจจัยหลายด้าน ทั้งด้านพันธุกรรม ฮอร์โมน ภาวะโภชนาการ โรคทางกาย และสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดู ผู้ปกครองสามารถตรวจสอบการเจริญเติบโตของเด็กได้โดยวัด ความยาวหรือส่วนสูง น้ำหนัก และวัดเส้นรอบศีรษะ ร่วมกับการดูขนาดของกระหม่อม ขนาดเส้นรอบอกและการขึ้นของฟันแล้วโภชนาการที่ดีดูได้จากส่วนสูง น้ำหนักที่สมดุลและอยู่ในระดับปกติของกราฟวัดการเจริญเติบโต การเฝ้าสังเกตความร่าเริง สดใส ภาวะ  ไม่เจ็บป่วยบ่อย หรือการทุเลาจากภาวะป่วยทั่วไป เช่น อาการหวัด หรือภาวะท้องเสีย การเสริมความเจริญเติบโตด้วยอาหารทำให้เด็กด้วยอาหารให้เพียงพอ หากบุคคลใดได้รับอาหารไม่เพียงพอและเหมาะสม จะทำให้สุขภาพร่างกายไม่ดี ทุพโภชนาการ หมายถึงภาวะ      ที่ร่างกายได้รับสารอาหารผิดเบี่ยงเบนไปจากปกติ อาจเกิดจากได้รับสารอาหารน้อยกว่าปกติ หรือเหตุทุติยภูมิ คือเหตุเนื่องจากความบกพร่องต่างๆจากการกิน การย่อย การดูดซึมในระยะ 2-3 ปี แรกของชีวิต จะมีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและการเรียนภายหลัง เนื่องจากเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตของสมองสูงสุด นอกจากการขาดสารอาหารแล้วการได้รับอาหารเกิน ในรายที่อ้วน ก็ถือว่าเป็นภาวะทุพโภชนาการ เป็นการได้รับอาหารมากเกินความต้องการ พลังงานที่มีมากขึ้นนั้นไม่ได้ใช้ไป พลังงานส่วนเกินเหล่านั้น ก็จะแปลงเป็นคอเลสเตอรอล เกาะจับแน่นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และอาจลุกลามไปถึงเส้นเลือด ผลที่ตามมาก็คือ โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจและโรคต่างๆ จากการสำรวจข้อมูลของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลาสองพบว่าจากจำนวนเด็กเล็ก ทั้งหมด ๕๙ คน มีเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน ๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๘๗ และเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๖๗
    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลาสอง ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาเด็กปฐมวัย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการ    และการเจริญเติบโต(เด็กปฐมวัย) เพื่อแก้ปัญหาทุพโภชนาการและเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง  สมส่วน มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และอาหารให้โทษแก่เด็ก

ร้อยละ 80 ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหาร ที่มีประโยชน์ และเลี่ยงอาหารให้โทษแก่เด็ก

2 เพื่อแก้ปัญหาทุพโภชนาการและเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงสมส่วน มีการเจริญเติบโตของสมอง และร่างกายเหมาะสมตามวัย

ร้อยละ 80 เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลาสอง มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง สมส่วน มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์ สามารถผลิตอาหารที่มีประโยชน์ง่ายๆ ให้เด็กรับประทาน ได้ทุกวัน
  2. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพดี มีพัฒนาการสมวัย โภชนาการดี ฟันไม่ผุ
  3. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และให้โทษแก่ร่างกาย
  4. ผู้ปกครองไม่สนับสนุนอาหาร และขนมที่ไม่มีประโยชน์ให้กับเด็กในปกครอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2567 17:11 น.