โครงการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยสมุนไพรไทย
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยสมุนไพรไทย |
รหัสโครงการ | 67-L5311-02-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด |
วันที่อนุมัติ | 22 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กันยายน 2567 - 16 ธันวาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 16 ธันวาคม 2567 |
งบประมาณ | 22,226.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 2 ก.ย. 2567 | 16 ธ.ค. 2567 | 22,226.00 | |||
รวมงบประมาณ | 22,226.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
อาการปวดเข่าเป็นอาการที่พบได้บ่อยซึ่งเกิดตามการเปลี่ยนแปลงของวัยที่เพิ่มขึ้น ปัญหาการปวดเข่าเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น จากการทำงาน มีการบาดเจ็บที่เข่า ข้อเข่าอักเสบ ข้อเข่าเสื่อม น้ำหนักตัวมากเกินไปอายุที่เพิ่มขึ้นตามสภาพของร่างกาย เป็นต้น ปวดเข่ามักจะเป็นสาเหตุของอาการปวดที่พบได้มากในกลุ่มของผู้สูงอายุและอาจจะมีในกลุ่มของประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก และต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษาที่ต่อเนื่อง ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และเป็นปัญหากับการประกอบอาชีพ ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนในพื้นที่จะประกอบอาชีพเกษตรกร ทำให้การใช้ร่างกายหนักขึ้น เป็นผลทำให้สมรรถภาพการทำงานของร่างกายลดลง แต่ไม่สามารถประกอบกิจกรรมได้ลดลงจากเดิม ทำให้ไม่มีความสุขเกิดความทุกข์จากอาการที่ปวด การรักษาในปัจจุบันเป็นการรักษาตามอาการที่เน้นในทางบรรเทาอาการปวด และป้องกันการทำลายข้อเพิ่มมากขึ้น มีแนวทางการรักษาต่างๆ เพื่อควบคุมอาการปวดที่เกิดขึ้นคือเป็นการใช้ยา เช่น ยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ยาคลายกล้ามเนื้อ การฉีดยา และอีกหนึ่งทางเลือก คือกายภาพบำบัด การใช้ความร้อนเพื่อบรรเทาอาการปวด หรือการให้คำแนะนำเกี่ยวกับลักษณะอาการโรค การปฏิบัติตัว เช่น การลดน้ำหนัก อิริยาบถที่ถูกต้อง หรือการทำงานที่เหมาะสม สำหรับการรักษาโรคในปัจจุบันประชาชนหันมาใช้บริการแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้น โดยในพื้นที่ตำบลน้ำผุดเองก็มีการปลูกสมุนไพรหลากหลายชนิดทั้งใช้ในการบริโภคและการรักษาโรคเบื้องต้น และลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นได้
ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการแพทย์แผนไทย การนำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์และปลอดภัยจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคและบรรเทาอาการปวดเข่าของประชาชนในชุมชน จึงได้นำสมุนไพรมาทำลูกประคบ และน้ำมันไพร เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ลดการติดของข้อต่อ ลดอาการบวมที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเส้นเส้นเอ็น หรือบริเวณข้อต่างๆ ช่วยทำให้ผ่อนคลายและคลายความเครียด เป็นการเพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับประชาชนและกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่าสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ และยังสามารถทำได้ขณะอยู่บ้าน เป็นการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น ลดค่าใช้จ่าย ลดการใช้ยาแก้ปวด และทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชน โดยการใช้สมุนไพรไทยในการรักษาและลดอาการข้อเข่าเสื่อม
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 22,226.00 | 0 | 0.00 | |
20 ส.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 | อบรมให้ความรู้เกี่ยวโรคข้อและกระดูก และการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรคเบื้องต้น | 0 | 22,226.00 | - | ||
20 ส.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 | ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในชุมชน | 0 | 0.00 | - |
- ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อและกระดูกและสามารถนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการรักษาอาการปวดเข่าเบื้องต้น
- อาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกายของประชาชนในชุมชน มีอัตราการปวดลดลง
- ปริมาณการใช้ยาและค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2567 00:00 น.