กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลระวะ
รหัสโครงการ L5227-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลระวะ
วันที่อนุมัติ 22 สิงหาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 60,520.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศรินรัตน์ ทองปานทิวัตถ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลระวะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 60,520.00
รวมงบประมาณ 60,520.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งพบผู้ป่วย ได้ในทุกกลุ่มอายุ อาการของโรคไข้เลือดออก มีตั้งแต่อาการที่ไม่รุนแรงจนถึงมีอาการรุนแรง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยมายาวนาน มีอัตราเจ็บป่วยตลอดทั้งปี และมีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูฝน ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้มีแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการตัดวงจรชีวิตยุงลายใช้หลัก 5 ป 2 ข เพื่อลดจำนวนพาหะนำโรค การใช้ทรายทีมีฟอส และการฉีดพ่นหมอกควันเพื่อทำลายยุงลายตัวเต็มวัย ซึ่งเป็นทางเลือกในลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้
รายงานการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในจังหวัดสงขลาปี 2566 พบผู้ป่วยจำนวน 7,401 ราย เสียชีวิตจำนวน 10 ราย และคาดว่ายังมีการระบาดอย่างต่อเนื่องในปี 2567 ประกอบกับระยะนี้ภาคใต้และจังหวัดสงขลาเริ่มมีฝนตกต่อเนื่องในบางพื้นที่ทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่าง ๆ จนกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำให้ยุงลายมีโอกาสแพร่ขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นและประชาชนเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2567 พบผู้ป่วย 547 ราย เสียชีวิต 1 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 1 – 23 ม.ค.2567) จากสถานการณ์การระบาดที่มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อชีวิตของประชาชน ทางสำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลระวะ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อป้องกันควบคุมสถานการณ์และลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลระวะ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก

ค่าดัชนียุงลาย - ค่า HI ไม่เกิน 10 (ในชุมชน) - ค่า CI = 0 (ในโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก)

50.00 80.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงลายตัวเต็มวัย

ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

50.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ส.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 ควบคุมโรคไข้เลือดในชุมชน 30 60,520.00 -
รวม 30 60,520.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2567 14:13 น.