โครงการพัฒนาเครือข่ายกำลังคนด้านสุขภาพตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาเครือข่ายกำลังคนด้านสุขภาพตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
รหัสโครงการ | 67-L5311-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ผู้อำนวยการ รพ.สต.น้ำผุด |
วันที่อนุมัติ | 2 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 กันยายน 2567 - 16 ธันวาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 16 ธันวาคม 2567 |
งบประมาณ | 46,280.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายดำรง คงแก้ว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 2 ก.ย. 2567 | 16 ธ.ค. 2567 | 46,280.00 | |||
2 | 0.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 46,280.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
คลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลส่งเสริมสุภาพตำบลน้ำผุดได้มีการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๖๒เป็นต้นมา โดยมีทีมสหวิชาชีพหลายสาขาทางด้านสาธารณสุขมาให้บริการแก่ประชาชนมีการดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสมและให้การดูแลแบบใกล้บ้านใกล้ใจอีกทั้งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการสุขภาพทุกระดับโดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดยมีเป้าหมายให้ประชาชนมีสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุขระบบสุขภาพยั่งยืน ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือการพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการสุขภาพในระดับ รพ.สต. ขึ้นคือเกณฑ์พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพการจัดบริการ (ทรัพยากรบุคคล อาคารสถานที่วัสดุ-อุปกรณ์ เครื่องมือ) และการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถและคุณภาพบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
ผลการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัว รพสต.น้ำผุด ปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๖
เปิดให้บริการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรคและการฟื้นฟูสภาพ งานคุ้มครองผู้บริโภค รับผิดชอบจำนวน ๖ หมู่บ้านประชากรทั้งหมด จำนวน ๔,๕๗๔ คน ประชากร UC จำนวน ๔,๑๑๒ คน รวมถึงประชากรแรงงานต่างด้าว เน้นบริการเชิงรุกตามหลัก FM ทั้งการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการบริการเชิงรุกในกลุ่มเป้าหมายกลุ่มแม่และเด็กกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง รวมถึงกลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะกลุ่มป่วยโรคเบาหวานในเขตปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗ จำนวน ๙๙,๑๐๓ ,๑๐๖ คิดเป็นร้อยละ ๒.๑๖,๒.๒๕, ๒.๓๒มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกๆปีกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขต ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗ จำนวน ๑๒๘,๑๓๑,๑๓๓ คิดเป็นร้อยละ ๒.๗๙,๒.๘๖,๒.๙๐ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและร้อยละการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ในเด็ก อายุ ๐-๖ ปี (ปี ๒๕๖๓-๒๕๖๖) ร้อยละ ๙๐,๙๕,๘๙,๘๙ และ ๗๘ ร้อยละการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์พบว่า มีอัตราการฝากครรภ์ร้อยละ ๘๐.๐๐,๘๖.๐๐, ๘๘.๖๐ และร้อยละ ๘๗.๗๐
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำผุดจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายกำลังคนด้านสุขภาพตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูลปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ขึ้น เพื่อเป็นการยกระดับขีดความสามารถให้มีคุณภาพมาตรฐานตามเกณฑ์พัฒนาการจัดบริการระดับปฐมภูมิที่มีแพทย์ประจำครอบครัว และเพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพการพัฒนาทีมเครือข่ายสุขภาพบริการระดับชุมชนหมู่บ้าน ให้มีความรู้และมีความชำนาญ มีทักษะเฉพาะทางมีคุณภาพสามารถให้ข้อมูลด้านสุภาพและคำปรึกษาด้านสุขภาพแก่บุคคลในบัญชีรายชื่อที่รับผิดชอบ ตลอดจนคำแนะนำที่จำเป็นเพื่อให้ประชาชนสามารถตัดสินใจเลือกรับบริการหรือเข้าสู่ระบบการส่งต่อ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะ ความรู้ ของอาสาสมัครสาธารณสุข หมอคนที่ ๑ ด้าน ทักษะการตรวจคัดกรองสุขภาพ การบริการข้อมูลด้านสุขภาพด้านการให้คำปรึกษา ตามหลัก 3 อ 2 ส ในกลุ่มโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง) อาสาสมัครสาธารณสุข มีทักษะการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในระดับดี ร้อยละ ๑๐๐ |
0.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีเครือข่ายแกนนำสุภาพประจำครอบครัวในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในระดับชุมชน แกนนำสุภาพประจำครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจสภาวะโรค สภาวะความเจ็บป่วยของญาติ สามารถดูแลเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ผู้ป่วยในการดูแลรักษาสุขภาพได้อย่างดี ผู้ป่วยที่ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อน หรืออาการป่วยที่รุนแรวจากเดิม ร้อยละ ๘๐ |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ก.ย. 67 - 16 ธ.ค. 67 | 1. กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มพูนทักษะอาสาสมัครสาธารณสุข (หมอคนที่ 1)จำนวน ๒ วัน | 0 | 26,160.00 | - | ||
2 ก.ย. 67 - 16 ธ.ค. 67 | 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพประจำครัวเรือนที่มีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตสูงได้ จำนวน 1 วัน | 0 | 20,120.00 | - | ||
รวม | 0 | 46,280.00 | 0 | 0.00 |
๑.อาสาสมัครสาธารณสุข หมอคนที่ ๑ มีทักษะ ความรู้ ทักษะการตรวจคัดกรองสุขภาพ การบริการข้อมูลด้านสุขภาพและการให้คำปรึกษาในกลุ่มโรคเรื้อรัง(โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง)ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนมีความไว้วางใจ เชื่อถือ เชื่อมั่นในตัวอาสาสมัครสาธารณสุขใกล้บ้าน
๒.คนในครัวเรือนที่มีผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในการรักษาโรคของคนในครอบครัว และการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในระดับชุมชนได้
๓.ผู้ป่วยทั้ง๒โรคได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ทั้ง อาสาสมัครสาธารณสุข, คนในครัวเรือน บุคลากรเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และทีมสหวิชาชีพจากโรงพยาบาล และ ชุมชน สามารถลดระดับอาการองโรคที่ป่วยให้น้อยลง หรือหายเป็นปกติ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2567 00:00 น.