โครงการคัดกรองและเสริมสร้างความรู้ผู้สูงวัย ห่างไกลสมองเสื่อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
ชื่อโครงการ | โครงการคัดกรองและเสริมสร้างความรู้ผู้สูงวัย ห่างไกลสมองเสื่อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 |
รหัสโครงการ | 67-L1523-2-15 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมผู้สูงอายุเขต รพ.สต.นาเมืองเพชร |
วันที่อนุมัติ | 5 มีนาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2567 |
งบประมาณ | 12,557.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ชมรมผู้สูงอายุเขต รพ.สต.นาเมืองเพชร |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวศศิมา โสะสะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.559,99.465place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 417 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ และสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในภาวะเช่นนี้คือ ปัญหาด้านสุขภาพและโรคภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาพร้อมๆ กับอายุที่ยืนยาวขึ้น และหนึ่งในโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ คือ โรคสมองเสื่อม ซึ่งเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอายุที่มากขึ้น
โรคสมองเสื่อมเป็นความผิดปกติที่สมองทำงานด้อยลงจากเดิมจนมีผลกระทบต่อการทำงานหรือ การใช้ชีวิตประจำวันของบุคคลนั้นๆ และทำให้ความรอบรู้ ความเฉลียวฉลาด ความคิด การตัดสินใจ เปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง นอกจากนี้ปัญหาสำคัญที่พบในผู้ป่วยสมองเสื่อมมี 2 ประการ คือ ปัญหาความจำและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ซึ่งพบว่าผู้ป่วยจะมีการสูญเสียความจำระยะสั้นก่อนแล้วจึงสูญเสียความจำระยะยาว ตลอดจนความสามารถในการตัดสินใจ ทำให้เป็นภาระแก่ผู้ดูแลและครอบครัวที่ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อระมัดระวัง การเกิดอุบัติเหตุต่างๆ จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลอย่างมากในหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านจิตใจเพราะทำให้เกิดความเครียดที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต จนบางครั้งอาจเกิดภาวะซึมเศร้าได้ในบางราย
จากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร หมู่ที่ 3,4,5 และ 6ปรากฏว่ามีผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่ตำบลนาเมืองเพชร จำนวนทั้งสิ้น 451 คน (เป็นผู้สูงอายุติดเตียง จำนวน 34 คน) และมีผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการคัดกรอง จำนวน 417 คน
ดังนั้น ชมรมผู้สูงอายุเขต รพ.สต.นาเมืองเพชรอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองและเสริมสร้างความรู้ผู้สูงวัย ห่างไกลสมองเสื่อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพที่ดี สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุขในครอบครัวและชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อคัดกรอง/ประเมินภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ 2. เพื่อส่งต่อการรักษาโรคสมองเสื่อมอย่างได้ทันท่วงที 3. เพื่อให้แกนนำสุขภาพ และแกนนำผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้ แนวทางการป้องกันและดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม 4. เพื่อเฝ้าระวังภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 469 | 12,557.00 | 0 | 0.00 | 12,557.00 | |
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 1 การตรวจคัดกรอง | 417 | 417.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้ | 52 | 12,140.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 3 การติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผล | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 469 | 12,557.00 | 0 | 0.00 | 12,557.00 |
๑. จัดประชุมเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบ
๒. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๓. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
๔. วางแผนการดำเนินงาน
5. การประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลนาเมืองเพชร
6. จัดกิจกรรมตามแผนงานตามแผนงาน/โครงการ
กิจกรรมที่ 1 การตรวจคัดกรอง
การตรวจคัดกรองภาวะสมองเสื่อม ของผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 417 คน โดยใช้เครื่องมือแบบประเมิน TMSE ในคัดกรองเบื้องต้น โดยแกนนำด้านสุขภาพ (เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.) แบ่งการคัดกรองออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ได้รับการคัดกรองจากแบบประเมินภาวะสมองเสื่อมแล้ว มีคะแนนมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่าไม่มีภาวะสมองเสื่อม และนำเข้าสู่กระบวนการดำเนินการสร้างความตระหนักรู้โรคสมองเสื่อมผ่านแกนนำสุขภาพและชมรมผู้สูงอายุต่อไป
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับการคัดกรองจากแบบประเมินภาวะสมองเสื่อมแล้ว มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่ามีภาวะสมองเสื่อม และจะส่งต่อข้อมูลผู้สุงอายุกลุ่มนี้เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาให้กับทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต่อไป
กิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้
การอบรมให้ความรู้กลุ่มแกนนำสุขภาพ (อสม.,เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง),กลุ่มแกนนำผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ ให้มีความรู้สร้างความตระหนักและทราบแนวทางการป้องกันโรคสมองเสื่อม รวมทั้งเพิ่มทักษะการออกกำลังกาย/การฝึกสมองของผู้สูงอายุผ่านชมรมผู้สูงอายุต่อไป
รูปแบบกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้และแนวทางป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
- ผู้สูงอายุลงทะเบียน
- กิจกรรมสร้างรอยยิ้ม ปันความสุข ผู้สูงอายุสุขภาพดี
- การให้ความรู้เกี่ยวกับโรค สาเหตุ อาการ และการป้องกันภาวะสมองเสื่อม
2. กิจกรรมสันทนาการ และการเล่นเกมส์ เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม เช่น
- กิจกรรมลับสมอง เป็นเกมส์ฝึกสมองป้องกันอัลไซเมอร์
- ตาราง 9 ช่อง บริหารสมอง
- การเล่นเกมส์ต่างๆสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น
กิจกรรมที่ 3 ติดตามและและประเมินผลการดำเนินงาน
1. สรุปข้อมูลผลการคัดกรองความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม
2. การติดตามการออกกำลังกายและกิจกรรมการฝึกสมองของผู้สูงอายุ โดยผ่านแกนนำสุขภาพและชมรมผู้สูงอายุ
3. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบล นาเมืองเพชร
- ผู้สูงอายุได้รับการประเมินภาวะสมองเสื่อม 2. ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมได้รับการตรวจคัดกรองอย่างทันท่วงที 3. ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องและมีการส่งต่อพบแพทย์ตามระดับความรุนแรงของโรคตามลำดับ 4. แกนนำด้านสุขภาพ แกนนำผู้สูงอายุมีความรู้โรค รับทราบแนวทางการป้องกันภาวะสมองเสื่อมและมีทักษะสามารถถ่ายทอดความรู้การออกกำลังกายกิจกรรมการฝึกสมองที่เหมาะสมของผู้สูงอายุได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2567 10:22 น.