โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต ใส่ใจสุขภาพกาย
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต ใส่ใจสุขภาพกาย |
รหัสโครงการ | 67-L5184-02-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | เทศบาลตำบลบ้านนา |
วันที่อนุมัติ | 11 มิถุนายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 22 สิงหาคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 36,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาววิมลสิริ เหมมา |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายธนพนธ์ จรสุวรรณ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กลุ่มวัยทำงานถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญและเป็นกำลังหลักในการสร้างเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศในขณะเดียวกันต้องรับภาระในการรับผิดชอบดูแลตนเองและครอบครัว เผชิญกับความเปลี่ยนแปลง ของสถานการณ์เศรษฐกิจ สังคม รวมถึงเผชิญกับการแข่งขันและความกดดันอย่างต่อเนื่อง ปัญหาสุขภาพจิตที่พบมากในวัยทำงาน คือ พฤติกรรมทางสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ภาวะเครียดและวิตกกังวล โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดคือ การมีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน และความไม่แน่นอนหรืองานที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง การขาดโอกาส ในการก้าวหน้าหรือได้รับการเลื่อนตำแหน่ง การทำงานหนักค่าตอบแทนน้อย ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบต่อ ประสิทธิภาพในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน ตลอดจนทำให้มีความสุขลดน้อยลง นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงวัยอื่นๆ (กรมสุขภาพจิต, 2561) และมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคที่เรียกว่า "ภัยเงียบ" ในอัตราที่สูงขึ้น เทศบาลตำบลบ้านนา ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพกายและจิตใจของพนักงานเทศบาล จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพกาย ใส่ใจสุขภาพจิต นี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพและกระตุ้นให้พนักงานเทศบาล หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพกายและจิตใจของตนเองอย่างจริงจัง ลดอัตราการป่วยที่เกิดจากภัยเงียบได้อย่างถาวรมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1 เพื่อให้พนักงานเทศบาล สามารถคัดกรองและประเมินภาวะด้านสุขภาพจิตเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง 1.ร้อยละ 80 ได้รับการประเมินภาวะด้านสุขภาพจิตได้อย่างถูกต้อง |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 36,600.00 | 0 | 0.00 | 36,600.00 | |
1 - 31 ส.ค. 67 | 1. กิจกรรม ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง | 0 | 0.00 | - | - | ||
13 - 14 ก.ย. 67 | 2.กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างสุขภาพจิตและกาย การคัดกรอง/ประเมินปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และแนวทางในการดูแลส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพเบื้องต้น | 0 | 36,600.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 36,600.00 | 0 | 0.00 | 36,600.00 |
1.พนักงานเทศบาลได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกายและจิตใจของตนเอง
2.พนักงานเทศบาลมีสุขภาพกาย สุขภาพจิต แข็งแรงสมบูรณ์
3.พนักงานเทศบาลสามารถปฏิบัติตนแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพและขจัดความเครียดได้อย่างถูกวิธี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2567 00:00 น.