กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องลดพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูง ปี ๖๐
รหัสโครงการ 60-L2514-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ลาโละ
วันที่อนุมัติ 25 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2560
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฮัสบุลเลาะห์แกต่อง
พี่เลี้ยงโครงการ นาย อรรถพล ขวัญเกิด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.343,101.59place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 ธ.ค. 2560 12 ก.ย. 2560 13,000.00
รวมงบประมาณ 13,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขและเร่งด่วนของประเทศไทยส่งผลกระทบต่อสุขภาพชีวิตความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมของประชาชนเป็นอย่างมาก องค์การอนามัยโลกได้กล่าวว่า นอกจาก การบริการทางคลินิกแล้ว การปรับระบบสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อซึ่งการบริการสุขภาพภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้ส่งผลกระทบให้ประชาชนส่วนใหญ่เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการพื้นฐาน ที่จำเป็นรวมทั้งการบริการสุขภาพเพื่อป้องกันควบคุมโรคเป็นสำคัญ เนื่องด้วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ มีกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
จากการศึกษาข้อมูลมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ พบว่าอัตราป่วยสูงขึ้นทุกปี คือ ปี ๒๕๕๘ มีผู้ป่วยขึ้นทะเบียน จำนวน ๑๓๒ รายปี ๒๕๕๙ มีผู้ป่วยขึ้นทะเบียน จำนวน ๑๔๘ รายและปี ๒๕60 มีผู้ป่วยขึ้นทะเบียน จำนวน ๑54 ราย จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทีมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา ได้จัดทำโครงการ “ลดพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูง” โดยส่งเสริมการสร้างสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานด้วยตนเอง โดยการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับสภาพปัญหาของปัจเจกบุคคล เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ คาดว่า เมื่อได้ดำเนินงานตามโครงการไปแล้วประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพตนเองขั้นพื้นฐาน ลดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงมีความห่วงใยต่อสุขภาพตนเอง และสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่พึงประสงค์อย่างถาวร อันส่งผลให้มีการเข้าถึงสุขภาวะที่แท้จริงของประชาชน มุ่งให้เกิดการพึ่งตนเองทางสุขภาพเป็นหลักสำคัญ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงลดพฤติกรรมเสี่ยงและสามารถดูแลสุขภาพตนเองขั้นพื้นฐานได้อย่างเหมาะสม

จำนวนผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ๑๐๐

2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

อัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่น้อยกว่าร้อยละ๑๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นวางแผน(Plan) ๑.ประชุมชี้แจงคณะทำงานเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ๒.เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๓.ประชุมชี้แจงโครงการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการให้ชุมชนรับทราบ
ขั้นดำเนินการ(Do) ๑. ตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูงในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) แต่ละหมู่บ้าน จำนวน ๔ หมู่บ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ ๒. จัดอบรมให้ความรู้ในเชิงปฏิบัติการในกลุ่มเสี่ยงในลักษณะการให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะสมให้กลุ่มเสี่ยง ๓.จัดกิจกรรมติดตามประเมินภาวะความดันโลหิตสูง รอบที่ ๒ หลังจากดำเนินโครงการ 1 เดือน ๔. ส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่มีค่าความดันโลหิตมากกว่า ๑๔๐/๙๐ mmHg ให้กับโรงพยาบาลรือเสาะเพื่อวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง

ขั้นตรวจสอบและประเมินผล(Check) ๑. ติดตามและประเมินผลจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม ๒. ติดตามอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ๓. ประเมินการมีส่วนร่วมของกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยในการจัดการสุขภาพของตนเอง ๔. สรุปผลการดำเนิน ขั้นปรับปรุงและพัฒนา(Action) ๑. รายงานผลการดำเนินงาน ๒. ประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ๓. ปรับปรุง/พัฒนาวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • กลุ่มเสี่ยงเกิดความตระหนักถึงอันตรายของโรคความดันโลหิตสูง
  • กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2559 13:08 น.