โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-50087-4-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | สำนักงานเลขาฯกองทุน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว |
วันที่อนุมัติ | 5 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 49,374.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | เลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.805,100.609place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] | 25 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด) | 93.00 | ||
2 | จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ) | 6.00 | ||
3 | จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน) | 25.00 | ||
4 | จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน) | 8.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคมโดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน สนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเอง ด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 13 (3) มาตรา 18 (4) (8) (9) และมาตรา 47ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุน ประสาน และกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนฯ รวมถึงสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร ดำเนินงาน และบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ตามประกาศฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2557 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยส่งเสริมกระบวนการมี ส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาวได้เล็งเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ขึ้น อนึ่ง งบประมาณโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว ประจำปีงบประมาณ 2568 คำนวณร้อยละ 20 ของยอดเงินจัดสรรของสปสช. จากจำนวนประชากร 3,886 คน คนละ 45 บาท (3,886x45) = 174,870 บาท รวมงบประมาณสมทบกองทุน สปสช. ตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาวปีงบประมาณ 2568 = 72,000 รวมงบประมาณทั้งสิ้น 246,870 บาท ฉะนั้นงบประมาณโครงการฯทั้งสิ้น (246,870x20%) = 49,374 บาท
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 % |
93.00 | 91.00 |
2 | เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน) |
25.00 | 25.00 |
3 | เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ) |
6.00 | 7.00 |
4 | เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน) |
8.00 | 8.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ อนุกรรมการ คณะทำงาน | 0 | 26,475.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | จัดประชุมคณะทำงานด้านการพิจารณาและกลั่นกรองโครงการ | 0 | 1,575.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | จัดประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง | 0 | 8,500.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนกองทุน การเขียนโครงการ/กิจกรรม และการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและแผนการเงิน เพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว ประจำปีงบประมาณ 2568 | 0 | 5,100.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | การอบรมพัฒนาศักยภาพคณะอนุกรรมการการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ประจำปีงบประมาณ 2568 | 0 | 2,125.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อนุกรรมการกองทุน คณะทำงาน ฯลฯ | 0 | 3,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าจัดซื้อวัสดุสำนักงาน | 0 | 2,599.00 | - | ||
รวม | 0 | 49,374.00 | 0 | 0.00 |
๑.คณะกรรมการ อนุกรรมการกองทุน คณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาวได้รับ ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ๒. คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ๓. การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ๔. กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาวมีแผนงานโครงการในการดำเนินงาน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2567 00:00 น.