กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาน้ำมันทอดซ้ำ เพื่อสุขภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนบาโงตาแย
วันที่อนุมัติ 26 สิงหาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 สิงหาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลรอนิง กามาเซ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.452,101.345place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 ส.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 14,700.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 14,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทำไมน้ำมันทอดซ้ำจึงกลายเป็นปัญหาต่อสุขภาพเนื่องเพราะการใช้น้ำมันทอดด้วยความร้อน สูงๆ ระหว่างกระบวนการทอดเกิดการเร่งการเสื่อมสลายของน้ำมัน ทำให้เกิดการแตกตัวของน้ำมันเป็นสารโพลาร์ในระหว่างการทอดอาหาร สารประกอบดังกล่าว เช่น กรดไขมันอิสระโมโนเอซิลกลีเซอรอล กรดไขมันทรานซ์ เป็นต้น ดังนั้น ปริมาณสารโพลาร์จึงสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดการเสื่อมสภาพของน้ำมันได้ และยิ่งเมื่อนำมาทอดซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้น ส่งผลให้น้ำมันมีสีดำขึ้น มีกลิ่นเหม็นหืน มีฟองและเหนียวหนืดขึ้น ยิ่งทำให้น้ำมันที่ใช้ทอดอาหารนั้นกลายเป็นสารพิษอันตรายโดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ การใช้น้ำมันทอดซ้ำจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนชุมชนบาโงตาแย ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุขเองก็ตระหนักว่าน้ำมันทอดซ้ำที่ใช้ในการทอดอาหารมีสารโพลาร์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และอาจมีผลทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ รวมทั้งโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากไอระเหยของน้ำมันที่เสื่อมสภาพจะมีสารก่อมะเร็ง เมื่อสูดดมเข้าไปทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้
    ชุมชนบาโงตาแยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำมันทอดซ้ำได้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างปี 2564 – 2566 ทางชุมชนบาโงตาแยได้ดำเนินกิจกรรม สะสม รวบรวมจากครัวเรือนจำนวน 10 หลังคาเรือน จากโรงเรียนบ้านนาเตยและน้ำมันทอดซ้ำจากการจัดงานประเพณีงานแต่ง จำนวน 84 กิโลกรัม นำจำหน่ายด้วยการให้พ่อค้ามารับซื้อจากจุดรวบรวม เป็นเงิน 1,120 บาท สมทบเป็นรายได้ในกิจกรรมขยะแลกบุญชุมชนบาโงตาแยเพื่อมัสยิดนูรุลยากีนบาโงตาแย     เพื่อขยายครัวเรือนเป้าหมาย ทางชุมชนบาโงตาแยจึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาน้ำมันทอดซ้ำ เพื่อให้ครัวเรือนในชุมชนมีความรู้ โทษพิษภัยของการใช้น้ำมันทอดซ้ำ ลดการเทลงพื้นหรือตามแหล่งน้ำธรรมชาติ และเพื่อเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายน้ำมันทอดซ้ำ ในกิจกรรมขยะแลกบุญโดยชุมชนบาโงตาแยเพื่อมัสยิดนูรุลยากีนบาโงตาแยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณส.ค. 67ก.ย. 67
1 อบรมให้ความรู้(26 ส.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 0.00    
รวม 0.00
1 อบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0 0
รวมทั้งสิ้น 0 0.00 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ครัวเรือนเป้าหมาย มีความตระหนักถึงอันตรายจากสารพิษในน้ำมันทอดซ้ำ และ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2. มีแนวการจัดการน้ำมันเก่าที่เสื่อมสภาพแล้วอย่างเหมาะสม 3. เกิดกิจกรรม การมีส่วนร่วมในการร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมของคนในชุมชน และชุมชนกับอปท.ในเรื่องการจัดการขยะ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2567 15:49 น.