โครงการฝึกอบรมและตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดของกลุ่มอาชีพ
ชื่อโครงการ | โครงการฝึกอบรมและตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดของกลุ่มอาชีพ |
รหัสโครงการ | 67-L5267-02-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อสม.บ้านสว่างอารมณ์ |
วันที่อนุมัติ | 29 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 สิงหาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2567 |
งบประมาณ | 16,560.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางหิรัญญา ศิริพงศ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายรุ่งโรจน์ ศักดิ์มรกต |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.241,100.469place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์
กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบบประสาท ระบบสืบพับพันธุ์ และ
ตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่
อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น
โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ตำบลป่าขาด บ้านสว่างอารมณ์ เป็นตำบลหนึ่งที่
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม ประมง โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ ๘๐
ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำนาปี นาปลัง ทำไร่ ทำสวนยาง สวนปาล์ม ผลกระทบจากการใช้
สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่
จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในเขตบ้านสว่างอารมณ์ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวน
มาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง
ดังนั้น ชมรม อสม. บ้านสว่างอารมณ์ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมและตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดของกลุ่มอาชีพ ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง
พื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแล
ระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกลุ่มเสี่ยง
|
||
2 | ๒. เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสียงมีความรู้ในการในการป้องกันและสามารถลดอันตรายจากการใช้สารเคมี
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ๑. เพื่อเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกลุ่มเสี่ยง |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ๒. เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสียงมีความรู้ในการในการป้องกันและสามารถลดอันตรายจากการใช้สารเคมี |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
- เขียนโครงการและเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ
- ประสานงานผู้เกี่ยวข้องเพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงาน
- ให้บริการส่งเสริมสุขภาพและเฝ้าระวังโรคจากผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ ตามรายละเอียดดังนี้ จัดอบรมกลุ่มเกษตรกร เพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมายโดยให้บริการคัดกรองภาวะสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดด้วยเครื่องมือ ๒ เครื่องมือ ประกอบด้วย (1) เครื่องมือคัดกรองเบื้องต้นเป็นเครื่องมือคัดกรองด้วยวาจา โดยใช้แบบสำรวจข้อมูลรายบุคคลผู้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร (2) เครื่องมือคัดกรองโดยการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (3) ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในการดำเนินงาน (4) ให้ความรู้ในการป้องกันและลดอันตรายจากสารเคมีแก่กลุ่มเสี่ยง (5) สำรวจและทำการตรวจเลือดในเกษตรกรเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (6) กลุ่มเสี่ยงที่มีผลตรวจไม่ปลอดภัย ต้องให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อลดลดสารเคมีในร่างกาย (7) ติดตามและประเป็นผลการค้าเป็นงาน เมื่อสิ้นสุดโตรงการ พร้อมรายการดำเนิยงารดำเนิยงานานามน (8) ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป
๑. ผู้ประกอบอาชีพได้รับการตรวจสุขภาพ คัดกรองผู้ตรวจเลือดในการประเมินภาวะเสี่ยงในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ๒. ผู้ประกอบอาชีพ สามารถลดการเสี่ยง และเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ จากโรคที่เกิดจากสารเคมี จากการประกอบอาชีพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2567 10:03 น.