กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนต้นแบบ หนูน้อยฟันดี ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L/2514-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารียัมมะเกะ
พี่เลี้ยงโครงการ นาย อรรถพล ขวัญเกิด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.343,101.59place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2560 31 ส.ค. 2560 13,000.00
รวมงบประมาณ 13,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ฟันน้ำนมเป็นฟันชุดแรกของมนุษย์ โดยฟันหน้าล่างจะขึ้นมาเป็นซี่แรกเมื่อมีอายุประมาณ ๖ – ๙ เดือน ตามพัฒนาการฟันน้ำนมจะขึ้นครบ ๒๐ ซี่ เมื่อมีอายุครบ ๒ ปีโดยส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะไม่ค่อยเห็นความสำคัญและให้การดูแลรักษาฟันน้ำนมเท่าทีควร เพราะคิดว่าฟันแท้สามารถขึ้นมาแทนที่ได้และไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาฟันน้ำนม ความจริงแล้วฟันแท้จะดีได้ขึ้นอยู่กับฟันน้ำนม เพราะฟันน้ำนมไม่ใช่แค่ช่วยให้รอยยิ้มที่สวยงาม แต่ยังช่วยเป็นแนวในการขึ้นของฟันแท้ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก รวมถึงปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคบางโรค โรคฟันผุในฟันน้ำนมยังเป็นปัญหาที่พบมากในประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนใต้ เด็กอายุ ๓ ปี ที่มีฟันครบ ๒๐ ซี่พบฟันผุถึงร้อยละ ๖๑และเมื่ออายุครบ ๕ ปีพบฟันผุถึงร้อยละ ๘๐ การรักษาฟันผุในเด็กทำได้ยาก เนื่องจากเด็กมักจะไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการรักษา ดังนั้นการป้องกันเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยควรดำเนินการเริ่มที่หญิงตั้งครรภ์จนเด็กเกิดไปถึงเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนและสามารถแปรงฟันด้วยตังเองจนสะอาด แต่ด้วยสภาพสังคมและวัฒนธรรมในปัจจุบันการให้ความสำคัญ และการดูแลฟันลูกในพื้นที่ของจังหวัดชายแดนใต้ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ยากและทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่สุขภาพช่องปากที่จะเกิดปัญหา แต่ยังส่งผลกระทบต่อเด็กในหลายด้าน และมีการวิจัยว่าโรคฟันผุมีผลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ควรแก้ไขตั้งแต่แรกเริ่ม จากข้อมูลการสำรวจสถานการณ์โรคฟันผุในเด็กอายุ ๓ ปีในเขตตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ พ.ศ.๒๕๕๘จำนวน ๗๓ คนพบเด็กที่มีฟันผุ ๕๙ คนคิดเป็นอัตราความชุกโรคฟันผุสูงถึง ร้อยละ ๘๐.๘๒ค่าเฉลี่ยโรคฟันผุคิดเป็นร้อยละ ๑๓.๒๓ ซี่/คน จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพช่องปากอยู่ในขั้นรุนแรงควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน หากปล่อยไว้และไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้องและต่อเนื่อง อาจเป็นปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็กในระยะยาวส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเด็กได้ในอนาคต
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ ได้เห็นถึงปัญหา และความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากในเด็กจึงได้จัดทำ โครงการชุมชนต้นแบบ หนูน้อยฟันดี ปี ๒๕๖๐ เพื่อดูแลตั้งแต่สุขภาพช่องปากเด็กตั้งแต่แรกเกิด จนถึงเด็กวัยก่อนเรียน กระตุ้นให้ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็กได้ให้ความสำคัญ และให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพช่องปากของลูกและเด็กในชุมชน เน้นการป้องกันก่อนการรักษา และเกิดประสิทธิผลในการดูแลสุขภาพช่องปากในระยะยาว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กของเด็กอายุ ๐ – ๖๐ เดือนได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช

เด็กของเด็กอายุ๐ – ๖๐ เดือนได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

2 เพื่อให้ผู้ปกครองผู้เลี้ยงดูเด็กอายุ ๐ – ๖๐เดือน ได้รับการฝึกแปรงฟันให้เด็ก

ผู้ปกครองผู้เลี้ยงดูเด็กอายุ ๐ – ๖๐ เดือน ได้รับการฝึกแปรงฟันให้เด็กไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

3 เพื่อเพิ่มคุณภาพของการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็ก

ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็ก สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กได้ดี

4 เกิดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสาธารณสุข

มีภาคีเครือข่ายสนับสนุนในการดำเนินโครงการ

5 สร้างกระแสงานทันตสาธารณสุขในชุมชน

มีชุมชนต้นแบบในการดำเนินงานทันตสาธารณสุข

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นวางแผน(Plan)
๑. กำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ ๒. สำรวจข้อมูลทางทันตสุขภาพในเขตรับผิดชอบ ๓. เขียนแผน/โครงการ เพื่อเสนออนุมัติ ๔.. ประชุมชี้แจงโครงการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการให้ชุมชนรับทราบ
๕. ดำเนินงานตามโครงการ ขั้นดำเนินการ(Do) ๑. กิจกรรม สร้างเกราะป้องกัน เด็กลาโละฟันดี -จัดทำฐานข้อมูลสุขภาพช่องปากเด็กอายุ0-5 ปีให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน -การตรวจสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 0-5 ปี -คัดกรองและประเมินความเสี่ยงเด็กปฐมวัยตามเกณฑ์ที่กำหนด -ให้ทันตสุขศึกษา และ สอน/ฝึกวิธีการทำความสะอาดช่องปากเด็กแก่ผู้ปกครองของเด็ก -ทาฟลูออไรด์วานิชในเด็ก 0-5 ปี -ส่งต่อเด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่ข่าย -ติดตามเยี่ยมบ้านและจัดบริการส่งเสริมป้องกันแบบเชิงรุกในชุมชน ๒. กิจกรรม ร้อยมือ สร้างสรรค์ฟันดี -จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.ในเขต ในการดูแลและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพช่องปากแก่ เด็ก 0-5 ปี ในชุมชน ๓. กิจกรรม ลูกน้อยฟันสวย ด้วยมือแม่ -มหกรรมการแปรงฟันเคลื่อนที่ในชุมชน ทั้ง 4 หมู่บ้าน -ค้นหา”ซุปตาร์ฟันน้ำนม”ในชุมชน ขั้นตรวจสอบและประเมินผล(Check) ๑.ประเมินผลกิจกรรมกลุ่มเด็กอายุ ๐-๖๐ เดือน จากผลการตรวจสุขภาพช่องปากและการทาฟลูออไรด์วานิช ๒.ประเมินผลกิจกรรมกลุ่มเด็กอายุ ๐-๖๐ เดือน จากผลการตรวจสุขภาพช่องปากและผลคะแนนการแปรงฟัน ๓.ประเมินการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการแกไขปัญหาทันตสุขภาพของชุมชน ๔.สรุปผลการดำเนินงาน ขั้นปรับปรุงและพัฒนา(Action) ๑.รายงานผลการดำเนินงาน ๒.ประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ๓.ปรับปรุง/พัฒนาวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.เด็กของเด็กอายุ ๐ – ๖๐ เดือนได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชอย่างมีคุณภาพ๒.ผู้ปกครองเด็กอายุ ๐ – ๖๐ เดือนได้รับการฝึกแปรงฟันให้เด็กที่ถูกวิธีและสามารถถ่ายทอดความรู้สู่คนในชุมชน ๓.ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก อสม.และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับการพัฒนาศักยภาพในการส่งเสริม ป้องกันและดูแล ทันตสุขภาพเด็กและของตัวเองได้๔.ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2559 13:21 น.