กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชาวเทศบาลรามันห์ร่วมใจ ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L8305-05-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลรามัน
วันที่อนุมัติ 20 สิงหาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 57,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางสาวซากีนะ ดอละ)
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ เป็นโรคติดต่อที่ต้องมีการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา เพื่อป้องกันการเกิดการระบาดอย่างรวดเร็ว จนส่งผลกระทบไม่สามารถควบคุมพื้นที่การระบาดและมีภาวะผู้ป่วยที่ร้ายแรงอาจถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงในกลุ่มเด็กวัยเรียนเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง รองลงมาคือกลุ่มประชาชนทั่วไปวัยทำงาน ซึ่งยังคงพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทุกปี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนควรมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และเน้นมาตรการเชิงรุกในชุมชน พร้อมสนับสนุนเวชภัณฑ์ป้องกันโรคไข้เลือดออกให้มีความเพียงพอและพร้อมใช้งานตลอดเวลา เพื่อสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีต่อไป       จากรายงานจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเมืองรามันห์ที่ผ่านมา พบว่า ในปี 2565 จำนวน 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 106.87 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2566 จำนวน 9 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 137.40 ต่อประชากรแสนคน และในปี2567 จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 30.53 ต่อประชากรแสนคน และช่วงเวลาที่พบผู้ป่วยสูงสุดในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมของทุกปี ซึ่งจากการระบาดของโรคไข้เลือดออกดังกล่าว ทำให้มีโอกาสเกิดโรคระบาดซ้ำอยู่ในปีนี้และปีถัดไป ซึ่งอาจมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม บ้านเรือนติดกัน สิ่งแวดล้อมไม่สะอาด ซึ่งเอื้อต่อการทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้ ดังนั้นหากปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้รับการแก้ไข เร่งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคอย่างเหมาะสม โรงพยาบาลรามัน ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จึงดำเนินการจัดโครงการชาวรามันห์ร่วมใจ ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจ ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน เป็นการสร้างเกราะป้องกันและรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึกของชุมชนให้มีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนปลอดไข้เลือดอออก เพื่อส่งผลต่อการลดลงของอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนและการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ข้อที่ 2. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าในเรื่องโรคเลือดออก ร้อยละ 90
  2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชาชนลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 10
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  • ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำโครงการฯ
  • ประชาสัมพันธ์โครงการชาวรามันห์ร่วมใจ ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2567
  • ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการชาวรามันห์ร่วมใจ ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2567 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรู้ภัย ห่างไกลไข้เลือดออก ในโรงเรียนเขตเทศบาลตำบลเมืองรามันห์ จำนวน 3 โรง โรงละ 50 คน         - นำเสนอรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก               - สร้างแกนนำสารวัติยุงลายในโรงเรียน               - อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน               - ฝึกปฏิบัติทักษะการสำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลาย
                      - สุ่มประเมินลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ไข้เลือดออกในชุมชนเมืองรามันห์ จำนวน 2 ชุมชน ชุมชนๆละ จำนวน 60 คน (ชุมชนตลาดบนและชุมชนกำปงบารู-ชุมชนตลาฆอฤแก)         - นำเสนอรายงานสถานการณ์ไข้เลือดออก         - อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชน
            - รณรงค์สร้างกระแสประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกในชุมชน สำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลาย แจกเวชภัณฑ์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ทรายอะเบท สเปรย์กันยุง สเปรย์กำจัดยุงตามบ้านเรือน
  • สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ไม่พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกในลักษณะเป็นกลุ่มก้อนในโรงเรียน
  2. ไม่พบพื้นที่ระบาดด้วยโรคไข้เลือดออกที่ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2567 10:14 น.