โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าและโรคเรื้อรัง บ้านคลองช้าง
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าและโรคเรื้อรัง บ้านคลองช้าง |
รหัสโครงการ | L2975 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกอ้น |
วันที่อนุมัติ | 27 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 18,225.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุภิดา โจทย์สัน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.732,101.061place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการแพทย์และการสาธารณสุขมีความเจริญก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้นทำให้อายุขัยเฉลี่ยของประชาชนยืนยาวขึ้นทำให้จำนวนประชากรกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นด้วยด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่การสื่อสารที่ฉับไวทั่วถึงทุกมุมโลกส่งผลให้จิตใจของคนเปลี่ยนไปเป็นวัตถุนิยมมีปัญหาทางสังคมบุตรหลานแยกเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ปัญหาทางร่างกายของผู้สูงอายุก็เปลี่ยนแปลงจากที่เคยแข็งแรงทำงานได้ก็ไม่แข็งแรงทำงาน น้อยลงมีผลถึงภาวะเศรษฐกิจต้องกลายเป็นผู้พึ่งพิงบุตรหลานหรือบางคนขาดการช่วยเหลือดูแลมีปัญหาทางด้านจิตใจเช่นไม่ได้รับการเคารพนับถือจากผู้เยาว์ขาดอิสรภาพส่วนบุคคลเป็นคนไม่ทันเหตุการณ์ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัยมากขึ้นผู้สูงอายุปรับตัวปรับใจให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้ก็จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพทางจิตนี้ตามมารวมทั้งเป็นวัยแห่งการเสื่อมโทรมทางด้านร่างกายเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ สมอง เกิดอัมพฤกษ์อัมพาตนำไปสู่ภาวะพึ่งพาและทุพพลภาพความต้องการการดูแลมากขึ้น การส่งเสริม สุขภาพนับว่ามีความสำคัญและเป็นหัวใจหลักของการปฏิรูประบบสุขภาพในประชากรกลุ่มผู้สูงอายความเสื่อมของอวัยวะต่างๆทุกระบบทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพเรื้อรังตามมาทำให้ผู้สูงอายุเป็นภาระของครอบครัวและสังคมตลอดจนประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณในการดูแลและรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว รพ.สต.บ้านโคกอัน มีแนวความคิดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุด้านสุขภาพกายสุขภาพใจและสังคมให้ดี เนื่องจากวัยผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยบั้นปลายของชีวิต ภาวะสุขภาพอาจจะมีความเปลี่ยนแปลงบ่อย มีความเสื่อมถอยของอวัยวะต่างๆที่เริ่มอ่อนแอและเกิดโรคง่าย ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยใน ผู้สูงอายุได้แก่ การเคลื่อนไหว โภชนาการสิ่งแวดล้อม สุขภาพช่องปากสมองเสื่อม เป็นต้น ผลการประเมินความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน (ADL) ทั้งหมด ๙ ด้าน อาทิเช่น ด. ความคิดความจำ ๒. การเคลื่อนไหวร่างกาย๓. การขาดสารอาหาร๔. การมองเห็น ๕. การได้ยิน๖. การซึมเศร้า ๗. การกลันปัสสาวะ๘. การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ๙. สุขภาพช่องปาก โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกอัน มีเป้าหมายหลัก คือ "ผู้สูงอายุสุขภาพดีดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี" จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าและโรคเรื้อรังบ้านคลองช้าง เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุด้านสุขภาพกายสุขภาพใจและสังคมให้ดีขึ้นโดยมีแกนนำผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมโครงการจำนวน ๖๕ คน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง 2.เพื่อให้ผุ้สูงอายุได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพตามมาตรฐานการคัดกรองผู้สูงอายุ9ด้าน
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
กิจกรรมที่ ๑ - รวบรวมข้อมูล กำหนดเป้าหมายและกิจกรรม - ประชุมคณะทำงาน และแกนนำ เพื่อวางแผนการตรวจคัดกรองผู้ที่สูงอายุในพื้นที่ (ครึ่งวัน) กิจกรรมที่ ๒ - อบรมให้ความรู้การคัดกรองผู้สูงอายุหรือผู้ดูแล ทั้ง ๙ ด้าน อสม.และแกนนำ (ครึ่งวัน) กิจกรรมที่ ๓ - จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ และคัดกรองผู้สูงอายุ - ผู้สูงอายุออกกำลังกายโดยใช้ผ้าขาวม้า กิจกรรมที่ ๔ - สรุปผลการอบรม ออกเยี่ยมบ้านกลุ่มเปราะบาง เดือนละครั้ง
1.อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจในการคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน
2.ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพพร้อมทั้งได้รับการดูแลที่เหมาะสม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2567 15:50 น.