โครงการใช้ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างปลอดภัย
ชื่อโครงการ | โครงการใช้ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างปลอดภัย |
รหัสโครงการ | L3332 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า |
วันที่อนุมัติ | 3 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กันยายน 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 24,980.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.435,100.197place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 5 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 29 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำใน หมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้ มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็น ร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหาร แปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ แต่จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคพบว่า การใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่ง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าใน ชุมชนได้สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในเขตรับผิดชอบและเครือข่ายสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า จึงได้จัดทำโครงการนี้ ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1.เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้รู้ถึงอันตรายจากการใช้ยาชุด ยาลูกกลอนและยาอันตรายที่มีขายอยู่โดยทั่วไปตามร้านขายของชำ (Active Community based Surveillance)
|
||
2 | ข้อที่ 2.เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้รับความรู้และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
|
||
3 | ข้อที่ ๓.เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประชาชน (RDU Literacy) ไม่หลงเชื่อคำโฆษณา
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑.สำรวจร้านจำหน่ายของชำในพื้นที่รับผิดชอบ
๒.ให้ความรู้แก่ อสม./ร้านชำในพื้นที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อันตราย
๓.ลงพื้นที่เพื่อตรวจร้านชำ ในพื้นที่รับผิดชอบ/เยี่ยมบ้าน ร่วมกับภาคีเครือข่าย ร้านที่มีปัญหาในชุมชน
๔.รณรงค์เรื่องการใช้ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง
๕.พัฒนาเครือข่าย อสม.นักวิทย์
1.ร้อยละ ๘๐ ของอสม.และประชาชนได้รับความรู้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อันตราย 2.ร้อยละ ๙๕ ของร้านชำ ได้รับการตรวจ ๓. ร้านชำผ่านเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ ร้อยละ๘๐ ๔.เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ภาคีเครือข่ายในการแก้ปัญหาการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของชุมชน ๕.เกิดชุมชนเข้มแข็งประชาชนในชุมชนสามารถดูแลตนเอง ครอบครัว ชุมชน ได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2567 14:18 น.