โครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนตำบลบาเจาะ ปี 2567
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนตำบลบาเจาะ ปี 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L2488-2-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.ตำบลบาเจาะ |
วันที่อนุมัติ | 4 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กันยายน 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2567 |
งบประมาณ | 34,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอาลีย๊ะ วาและ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.514,101.636place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 600 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การมีสุขภาพดี เป็นเป้าหมายสูงสุดของมวลมนุษยชาติ การที่ประชาชนมีสุขภาพดีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นพื้นฐานของการพัฒนาในด้านต่างๆ ความเจ็บป่วยของประชาชนในปัจจุบันแบ่งเป็นการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ และป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งโรคติดต่อที่สำคัญเป็นปัญหาในพื้นที่ตำบลบาเจาะ ประกอบด้วย โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่นโรคไอกรน เป็นต้น ส่วนโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และการเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุ เป็นต้น โรคติดต่อ มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหะนำโรคและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือบุคคลต้องมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหะนำโรคต้องไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของเชื้อโรค การปรับปรุงหรือควบคุมรักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ เป็นสิ่งที่ประชาชนในหมู่บ้าน / ชุมชนทำได้ ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล แต่ละครัวเรือน ซึ่งหมู่บ้านใด ชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง ไมเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผลจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือนและทุกภาคส่วน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลบาเจาะ จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน ตำบลบาเจาะ ปี 2567 ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการดูแลสุขภาพตนเอง บ้านเรือนและสภาพแวดล้อมในชุมชนให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ที่จะส่งผลต่อการลดโรคติดต่อ และเพิ่มการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนในชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี
|
||
2 | เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ ร้อยละ 50 ของครัวเรือนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน |
||
3 | เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการองกันและควบคุมโรคติดต่อมากกว่าร้อยละ 70 |
- ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
- ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น
- ชุมชนสามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อได้
- ชุมชนมีความเข้มแข็งและเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2567 14:55 น.