โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 67-L3071-5-1 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลิปะสะโง |
วันที่อนุมัติ | 6 มิถุนายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 สิงหาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 38,550.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวซูนีดา ลาเตะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายสมภพ สุวรรณชมภู |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.805,101.231place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ส.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2567 | 38,550.00 | |||
รวมงบประมาณ | 38,550.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกถือได้ว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งในปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในทุกฤดูกาล แต่จะพบมาในช่วงฤดูฝน ซึ่งความรุนแรงของโรคทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ แม้จะมีการรณรงค์ให้มีการป้องกัน ควบคุม ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคโดยภาครัฐและเอกชนอยู่เป็นประจำ แต่ก็ไม่สามารถทำให้โรคนี้หมดไปจากสังคมไทยของเราได้เลย การรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยเริ่มต้นทำที่บ้านของตนเองก่อน ให้ทุกคนถือว่าการกำจัดลูกน้ำยุงลายเป็นภารกิจประจำวันของทุกบ้าน จากนั้นขยายไปสู่ชุมชน และสถานที่สาธารณะส่วนรวม เช่น โรงเรียน ศาสนสถาน และสถานที่ทำงาน ตามมาตรการวิธี 5 ป 1 ข (ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง ปฏิบัติ และขัดไข่ยุงในภาชนะ) เพื่อเป็นการลดจำนวนของยุงลายในธรรมชาติให้น้อยลง โดยการทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง การใส่ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ การพ่นหมอกควัน จึงจำเป็นต้องมีการเริ่มดำเนินการให้รวดเร็ว ให้ทันต่อสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรค
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลิปะสะโง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการกำจัดลูกน้ำยุงลายไม่ให้แพร่เชื้อหรือขยายพันธุ์ต่อไปได้อีก เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก รวมทั้งเป็นการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย รวมถึงการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออกในครัวเรือน หมู่บ้าน และสถานที่สาธารณะส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | จำนวนหมู่บ้านในตำบลลิปะสะโงมีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายไม่ให้ไปแพร่เชื้อหรือทำการขยายพันธุ์
|
5.00 | |
2 | จำนวนหมู่บ้านในตำบลลิปะสะโงสามารถลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
|
5.00 |
- เป็นการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายไม่ให้ไปแพร่เชื้อหรือทำการขยายพันธุ์ต่อไป ได้อีก
- ทำให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดน้อยลง
- เป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงภัยโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2567 17:51 น.