โครงการส่งเสริมสุขภาพหนูน้อยเติบโตสมวัย ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพหนูน้อยเติบโตสมวัย ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 2568-L3351-01-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย |
วันที่อนุมัติ | 1 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2567 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 14,370.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางพรภิรมย์ ด้วงเล็ก |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวนิสรีน เหล็มปาน |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.624248,100.014553place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของเด็ก 9 เดือน - 5 ปี ที่ได้รับการส่งต่อหลังประเมินพัฒนาการรอบที่ 2 | 2.00 | ||
2 | ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า | 25.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมดทั้งจากร่างกายของเด็ก และสภาพแวดล้อมภายนอก เด็กที่ไม่ได้รับการแก้ไขพัฒนาการที่ผิดปกติตั้งแต่แรกจะเป็นภาระต่อสังคมในระยะยาวต่อไปด้วย จากการสุ่มสำรวจสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ปี 2566พบว่า 1 ใน 4 ของเด็กทุกช่วงวัยมีพัฒนาการสงสัยว่าล่าช้า โดยเฉพาะพัฒนาการด้านภาษาและการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสติปัญญา และพบว่า เด็กอายุ 0-6 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่า ร้อยละ 30 จากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็ก 0-6ปี เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้ากว่าร้อยละ 4.51 ซึ่งร้อยละ 3.44 เป็นพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็ก 0-6 ปี กว่าร้อยละ80 ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ ในปีงบประมาณ 2567โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายมีเด็กอยู่ในช่วงอายุ 9 เดือน – 5 ปี ที่ต้องได้รับการตรวจประเมินพัฒนาการ จำนวน 100 คน ได้รับการประเมินคัดกรองพัฒนาการแล้ว จำนวน 80 คน (ร้อยละ 80.00) พบว่า มีพัฒนาการสมวัยครั้งแรก จำนวน 55 คนคิดเป็นร้อยละ 55.00 เด็กทุกคนที่มีพัฒนาการไม่สมวัยต้องได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านนั้นและติดตามประเมินฯซ้ำ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายเห็นความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เพราะหากเด็กมีพัฒนาการไม่สมวัย หรือไม่ได้รับการส่งเสริมจะทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของเด็กและปัญหาของครอบครัวในอนาคต จึงได้โครงการส่งเสริมสุขภาพหนูน้อยเติบโตสมวัย ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดภาวะพัฒนาการล่าช้าเด็กเล็ก (0-6 ปี) ลง ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า |
25.00 | 15.00 |
2 | เพื่อให้เด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย เด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 90 |
80.00 | 90.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 14,370.00 | 0 | 0.00 | |
1 ต.ค. 67 - 31 ม.ค. 68 | สำรวจปัจจัยที่มีเกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็ก | 0 | 0.00 | - | ||
1 ธ.ค. 67 - 30 มิ.ย. 68 | ประชุมย่อยและตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก ครั้งที่ 1 | 0 | 6,270.00 | - | ||
1 ม.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68 | อบรมผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย /กลุ่มเสี่ยง | 0 | 6,600.00 | - | ||
1 ก.พ. 68 - 31 ก.ค. 68 | ประชุมย่อยและตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก ครั้งที่ 2 | 0 | 1,500.00 | - | ||
1 มิ.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 | สรุปผลโครงการและส่งต่อเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยหลังการประเมินครั้งที่ 2 | 0 | 0.00 | - |
- รพ.สต.บ้านโคกชะงายมีข้อมูลปัจจัยเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กเพื่อใช้แก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น
- ผู้ปกครองทุกคนมีความรู้โภชนาการ และพัฒนาการสมวัยที่ถูกต้อง ร้อยละ 85
- เด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 90
- เด็กทุกคนได้รับการตรวจประเมินพัฒนาการซ้ำและส่งต่อ (กรณียังไม่ผ่านเกณฑ์พัฒนาการตามวัย)
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2567 00:00 น.