โครงการบ้านน่าอยู่ สุขภาพดี ชีวีปลอดโรค ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการบ้านน่าอยู่ สุขภาพดี ชีวีปลอดโรค ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 2568-L3351-02-14 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย |
วันที่อนุมัติ | 9 ตุลาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 9 ตุลาคม 2567 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 11,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอุไร พงค์จันทร์เสถียร |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวชนม์นิภา ธรรมเพชร นางเพ็ญ ขาวมาก |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.624248,100.014553place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ สาเหตุเนื่องมาจากประชากรในประเทศมีจำนวนมากขึ้น ชุมชนก็เพิ่มขึ้น สถานประกอบการต่างๆมีมากขึ้น และ สิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ขยะมูลฝอย ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นชุมชนจัดเป็นแหล่งสำคัญหนึ่งที่ผลิตของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม แม้ว่าขยะจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือนจะไม่ใช่ของเสียที่เป็นอันตราย เมื่อเปรียบเทียบกับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเกษตรกรรม แต่ถ้ามีปริมาณมากก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะขยะมูลฝอยจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือนปริมาณขยะในแต่ละวันของตำบลโคกชะงาย 5.3 ตันต่อวัน สามารถคัดแยกขยะได้ 1.83 ตันเท่านั้นมีขยะที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติและขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) ขยะประเภทวัสดุเหลือใช้ ขยะที่อาจเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากสารพิษ เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่และกลไกเพื่อการคัดแยกขยะ แปรรูปขยะเป็นพลังงานด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ และเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคติดต่อนำโดยแมลง พวกหนู แมลงวัน แมลงสาป รวมทั้งโรคติดต่อทางอาหาร ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จึงได้จัดโครงการรณรงค์ลดปริมาณขยะในชุมชน เพื่อระวังภัยสุขภาพ ใส่ใจสิ่งแวดล้อมขึ้น การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อม จึงจัดให้มีระบบการจัดการขยะในชุมชนภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ”เพื่อให้ประชาชนและชุมชนส่งเสริมการดำเนินการตามหลัก 3 Rs ได้แก่ การลดการใช้ (Reduce) การใช้ซ้ำ(Reuse)และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนและชุมชน ได้ตระหนักและรับรู้ถึงความจำเป็น ในการคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะและเป็นการลดปริมาณขยะที่มีประสิทธิภาพ และป้องกันปัญหาการเกิดมลพิษ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังส่งเสริมให้แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อไม่ให้ขยะดังกล่าวตกค้าง ทำให้ชุมชนสะอาด น่าอยู่ และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะในครัวเรือนและชุม
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ในการคัดแยกขยะ และสามารถลดขยะในชุมชนได้ ร้อยละ 80 ของครัวเรือนมีความรู้การจัดการขยะ และคัดแยกขยะที่ถูกต้อง |
30.00 | 0.00 |
2 | เพื่อให้มีบ้านต้นแบบบ้านสะอาดและปลอดโรคในชุมชน แต่ละหมู่บ้านมีบ้านต้นแบบบ้านสะอาดและปลอดโรคในชุมชนอย่างน้อย 1 ครัวเรือน |
6.00 | 12.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 11,600.00 | 0 | 0.00 | |
1 ต.ค. 67 - 31 ม.ค. 68 | ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ | 0 | 0.00 | - | ||
1 พ.ย. 67 - 28 ก.พ. 68 | อบรมบ้านสะอาด ปลอดโรค ปลอดภัย | 0 | 8,600.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68 | ประเมินบ้านต้นแบบแต่ละหมู่บ้าน | 0 | 1,200.00 | - | ||
1 มิ.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 | สรุปผลโครงการและมอบเกียรติบัตร | 0 | 1,800.00 | - |
1.แกนนำสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ครัวเรือนในชุมชนให้คัดแยกขยะให้ถูกต้อง 2.ชุมชนสามารถลดปริมาณขยะที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ให้น้อยลง 3. มีบ้านตัวอย่างความสะอาดเป็นแบบอย่างให้คนในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2567 00:00 น.