กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาแกนนำสุขภาพวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ปี 2568
รหัสโครงการ 2568-L3351-02-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 1 พฤศจิกายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2567 - 31 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 29 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 14,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุไร พงค์จันทร์เสถียร
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวชนม์นิภา ธรรมเพชร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.624248,100.014553place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันสุขภาพของคนในพื้นที่ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายชนิด หนึ่งในจำนวนโรคเหล่านั้นนั้นก็เป็นมีโรคมะเร็ง ที่เป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งสาเหตุเกิดจากอาหารการกินสารเคมีที่ปนเปื้อนมาในอาหารในรูปแบบต่างๆ ทำให้ประชาชนเกิดโรคมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สุขภาพหลายชนิดที่เกิดขึ้น ทั้งผลิตภัณฑ์อาหารยา และเครื่องสำอางค์ ที่กลุ่มผู้ผลิตโฆษณาเพื่อดึงดููดความสนใจผู้บริโภคให้มาใช้สินค้า เกิดการแข่งขันทางธุรกิจ กลุ่มผู้ผลิตพยายามหาจุดขายของผลิตภัณฑ์ บางผลิตภัณฑ์มีการใช้สารที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสม เพราะเป็นอันตรายต่อสุุขภาพของผู้บริโภค เช่น สารไฮโดรควิโนนสารปรอท ซึ่งห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์สารสเตียรอยด์ ห้ามใช้ในยาแผนโบราณ ส่วนใหญ่จะพบในยาลูกกลอน กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผัก ผลไม้ ใช้สารเคมีเพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ รวมทั้ง ร้านค้าที่นำผลิตภัณฑ์สุขภาพมาขายในร้าน ยังมีการแอบนำผลิตภัณฑ์ ยาที่ห้ามจำหน่ายในร้านชำมาขายให้ประชาชนในชุมชนจำเป็นต้องให้ประชาชนได้รับความรู้และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ ซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีแกนนำ อสม. วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน จำนวน 13 คน ผ่านหลักสูตรจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่12/1 ตรัง ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาแกนนำสุขภาพวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ปี 2568 ขึ้นเพื่อสร้างแกนนำเด็กและเยาวชนในชุมชนช่วยเฝ้าระวัง ตรวจร้านชำ และให้ความรู้กับประชาชนการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร ที่ปลอดภัย และรับทราบข้อมูลข่าวสารผลิตภัณฑ์ที่ประกาศห้ามใช้และเพื่อลดการใช้สารเคมีในเกษตรกรและประชาชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้งานคุ้มครองผู้บริโภคให้แกนนำหมู่บ้าน

ร้อยละ 80 ของแกนนำหมู่บ้านมีความรู้งานคุ้มครองผู้บริโภค

0.00 80.00
2 เฝ้าระวังความปลอดภัยยาและอาหารร้านค้าในชุมชนและโรงเรียน

ร้านค้าในชุมชนและโรงเรียนได้รับการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาและอาหาร ร้อยละ100

85.00 100.00
3 เพื่อสร้างแกนนำเด็กและเยาวชน วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ในหมู่บ้าน

มีแกนนำเด็กและเยาวชน วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ในหมู่บ้าน จำนวน 30คน

0.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,125.00 0 0.00 14,125.00
1 ต.ค. 67 - 31 ม.ค. 68 ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 0.00 - -
1 ต.ค. 67 - 31 ก.ค. 68 สำรวจร้านชำ/แผงลอย ในชุมชน และตรวจครัวในโรงเรียน 0 4,000.00 - -
1 มี.ค. 68 - 31 พ.ค. 68 อบรมแกนนำสุุขภาพวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน 0 8,100.00 - -
6 พ.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และมอบประกาศนียบัตร 0 2,025.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 14,125.00 0 0.00 14,125.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีแกนนำสุขภาพเด็กและเยาวชนวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนในชุมชน
  2. ประชาชนได้รับความรู้ การเลือกอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย
  3. ร้านค้า/โรงเรียนในชุมชนจำหน่ายอาหาร และผลิตภัณฑ์ที่่ปลอดภัยให้กับผู้บริโภค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2567 00:00 น.