ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ลดพุง หุ่นดี ด้วย DPAC
ชื่อโครงการ | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ลดพุง หุ่นดี ด้วย DPAC |
รหัสโครงการ | 2568-L3351-02-18 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว |
วันที่อนุมัติ | 21 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 21 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 14,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอุทิศ คงทอง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.624248,100.014553place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 764 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 387 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) | 50.00 | ||
2 | ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน | 23.00 | ||
3 | ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน | 46.00 | ||
4 | ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) | 24.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
พฤติกรรมและวิถีชีวิตมีผลอย่างมากต่อสุขภาวะของมนุษย์พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ของแต่ละบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วยของบุคคลนั้นๆจากสถานการณ์ของคนไทยในปัจจุบันพบว่าโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายในลำดับต้นๆ ปัจจุบันคนไทยมีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงมากขึ้นจากพฤติกรรมบริโภคที่ไม่เหมาะสม โดยหันมาบริโภคอาหารรสหวานมันเค็ม และอาหารแปรรูปมากขึ้น รับประทานผักผลไม้น้อยลงและขาดการออกกำลังกายในปี2565ผลการสำรวจภาวะอ้วนลงพุงในประชาชนอายุ15ปีขึ้นไปทั่วประเทศของกรมอนามัยพบว่าเพศชายมีรอบเอวเกิน90เซนติเมตรร้อยละ34และเพศหญิงมีรอบเอวเกิน80เซนติเมตรร้อยละ58 จากผลการคัดกรองสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงของ รพ.สต.บ้านทุ่งยาวระหว่างปี พ.ศ.2560-พ.ศ.2565 จำนวน 1,089 รายพบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนจำนวน 384 รายคิดเป็นร้อยละ 35.26เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 305 รายคิดเป็นร้อยละ 28.01 และเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 39 รายคิดเป็นร้อยละ 3.58และจากผลการดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯของรพ.สต. บ้านทุ่งยาว ระหว่างปี พ.ศ.2560 - พ.ศ.2565 ร้อยละ มีการรับรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้นร้อยละ 35มีการกำกับพฤติกรรมสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23มีการดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้นร้อยละ 34มีค่าดัชนีมวลกายลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ และร้อยละ 67มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากซึ่งการปรับพฤติกรรมสุขภาพต้องใช้เวลานานพอสมควรจึงสำเร็จด้วยความตระหนักถึงความรุนแรงของโรคอ้วนโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดที่คุกคามวิถีชีวิตและสุขภาวะของผู้ประกันตนในสถานประกอบการ ประชาชนในชุมชนและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านทุ่งยาวร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านทุ่งยาว จึงได้ทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ลดพุงหุ่นดีด้วย DPACโดยได้รับการสนับสนุนเงินงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทั้งนี้ได้นำแนวคิดพฤติกรรมสุขภาพ3 อ 2 สมาใช้เป็นหลักในการวางแผนการดำเนินกิจกรรมโดยการเพิ่มพลังอำนาจในตนเองให้เกิดความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถตัดสินใจเลือกวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความมั่นใจในการแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความมั่นใจในการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพก่อนที่จะเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องและมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนรวมทั้งมีแนวทางและเกิดทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองจะช่วยลดการพึ่งพิงการรักษาและค่าใช้จ่ายในระดับทุติยภูมิและตติยภูมิซึ่งจะเสริมให้ทรัพยากรบุคลเป็นทุนมนุษย์ที่แข็งแรงของหน่วยงานและสังคมและประเทศชาติต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่ ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) |
50.00 | 60.00 |
2 | เพื่อเพิ่มการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน |
23.00 | 30.00 |
3 | เพื่อเพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน |
46.00 | 40.00 |
4 | เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) |
24.00 | 30.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 14,050.00 | 0 | 0.00 | |
21 มี.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ | 0 | 3,050.00 | - | ||
25 เม.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 | ตรวจเลือดหาค่าไขมันในเลือด | 0 | 11,000.00 | - | ||
30 พ.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | ติดตามแประเมินผลกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ | 0 | 0.00 | - |
- กลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้ทางด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น
- ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ เพิ่มขึ้น
- คนในชุมชนออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2567 00:00 น.