กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกตำบลสะกำ
รหัสโครงการ 67-l3007-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.สะกำ
วันที่อนุมัติ 27 สิงหาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 22,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอะหมัด เตะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะกำ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.72,101.462place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2567 30 ก.ย. 2567 22,500.00
รวมงบประมาณ 22,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของตำบลสะกำ ในปี 2566 พบผู้ป่วยโคไข้เลือดออกจำนวน 6 ราย คิดเป็น 102.22 ต่อประชากรแสน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ด้วยสภาพอากาศเอื้อต่อการแพร่ระบาดบวกกับสภาพแวดล้อมที่เป็นสวนยางพารา พื้นที่ราบลุ่มมีน้ำขังตามแหล่งชุมชนต่างๆ ทำให้ยุงสามารถวางไข่และเจริญเติบโตได้ง่าย   ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงปัญหาโรคไข้เลือดออก และเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการควบคุมและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกำจึงได้ทำครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อป้องกันและหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงฤดูกาลก่อนการระบาด ช่วงที่มีการระบาด และหลังการระบาดของโรคไข้เลือกออก เพิ่มการครอบคลุมของการรณรงค์การกำจัดลูกน้ำในโรงเรียนและชุมชน และประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมในชุมชนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเหตุการณ์

พื้นที่ที่มีโรคไข้เลือดออก ได้รับการควบคุม  ป้องกัน  ไม่มีรายที่ 2 และไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก

2 เพื่อลดอัตราการป่วยและการระบาดของโรคไข้เลือดออก

ดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI น้อยกว่า 10  ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกน้อยกว่า50 ต่อประชากรแสนคน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 67
1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้(1 ก.ย. 2567-30 ก.ย. 2567) 22,500.00  
รวม 22,500.00
1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 240 22,500.00 0 0.00 22,500.00
1 - 30 ก.ย. 67 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ 120 15,000.00 - -
1 - 30 ก.ย. 67 ลงเยี่ยมบ้าน/ลงพื้นที่ 120 7,500.00 - -
รวมทั้งสิ้น 240 22,500.00 0 0.00 22,500.00

ขั้นที่ 1 ก่อนดำเนินการ 1. เขียนโครงการของบสนับสนุนงบประมาณ 2. ประสานงานกับผู้นำชุมชน อสม. และประชาชนทั่วไปได้ทราบที่มาของโครงการ ขั้นที่ 2 การควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่       2.1 อบรมให้ความรู้
      2..2 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินการป้องกันและการควบคุมโรค เช่นแก๊สกระป๋องทรายอะเบท โลชั่นการยุง สเปรย์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หมู่บ้านมีค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ( ค่า H I ไม่เกิน 10 ) ๒. ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันไข้โรคไข้เลือดออก 3 อัตราผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคไขัเลือดออกลดลง ๔ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2567 16:20 น.