กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 2568-L3351-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 1 พฤศจิกายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2567 - 31 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 29 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 9,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรภิรมย์ ด้วงเล็ก
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนิสรีน เหล็มปาน นางสาวสุกัญญา อินทร์เหมือน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.624248,100.014553place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด
15.38
2 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์
25.00
3 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
85.75

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์และการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ (preconception care) เป็นการจัดบริการแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์และคู่สมรส มีเป้าหมายเพื่อให้สตรีมีสุขภาพดี มีผลลัพธ์จากการตั้งครรภ์ที่ดี เนื่องจากสตรีวัยเจริญพันธุ์เป็นช่วงที่อายุมีความพร้อมมากที่สุดต่อการกระทำหน้าที่ที่สมบูรณ์ของสตรี คือการให้กำเนิดบุตร ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญในสังคม การจัดระบบสุขภาพของกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์ จึงเป็นการส่งเสริมสุขภาพของประชากรกลุ่มสำคัญให้มีสุขภาพดี และคุณภาพชีวิตที่ดีมีเป้าหมายเพื่อให้สตรีวัยเจริญพันธุ์มีสุขภาพดีก่อนการตั้งครรภ์ อีกทั้งมีความพร้อมที่จะตั้งครรภ์ ไม่เพียงแต่การเตรียมทางด้านร่างกายเท่านั้น ต้องครอบคลุมทั้งด้านสังคม จิตใจและจิตวิญาณด้วยการส่งเสริมให้สตรีวัยเจริญพันธุ์และคู่สมรสมีทัศนคติทางบวกก่อนการตั้งครรภ์แก่การเป็นบิดามารดาจากการที่สตรีวัยเจริญพันธุ์ขาดความรู้ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ จึงส่งผลให้เมื่อมีการตั้งครรภ์ได้มีการฝากครรภ์ช้า ภาวะซีดก่อนตั้งครรภ์ จึงต้องให้ความรู้เพื่อส่งเสริมให้มีการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ป้องกันภาวะซีดก่อนตั้งครรภ์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับหญิงตั้งครรภ์มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติตัว และสามารถดูแลตนเองและทารกในครรภ์ ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลหรือการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง การเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์เป็นส่วนหนึ่งของงานอนามัยแม่และเด็ก ซึ่งถือเป็นด่านแรกของการดูแลสุขภาพเพื่อที่จะทำให้บุคคลเกิดความตระหนักสนใจในการดูแลสุขภาพและการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อสุขภาพที่ดีของสตรีและเกิดผลลัพธ์ที่ดีในการตั้งครรภ์ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด ลดลง

15.38 10.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

85.75 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,850.00 0 0.00 9,850.00
1 พ.ย. 67 - 30 เม.ย. 68 ประเมินภาวะซีดหญิงวัยเจริญพันธ์ุ (15 - 49 ปี)ุและหญิงตั้งครรภ์ 0 0.00 - -
1 ธ.ค. 67 - 31 พ.ค. 68 อบรมหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ 0 8,600.00 - -
1 ธ.ค. 67 - 30 มิ.ย. 68 ส่งเสริมสุขภาพป้องกันภาวะซีดหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ 0 0.00 - -
1 พ.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 ประชุมติดตามกลุ่มเป้าหมายและสรุปผลโครงการ 0 1,250.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 9,850.00 0 0.00 9,850.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์และสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง 2.หญิงวัยเจริญพันธ์ุที่มีภาวะซีดหรือเสี่ยงกลับมามีผลเลือดปกติหลังได้รับการส่งเสริมสุขภาพ 3.หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่แต่งงานแล้วเตรียมความพร้อมที่จะตั้งครรภ์มีความรู้ในเรื่องการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และสามารถมาฝากครรภ์ได้เร็วเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ 4.หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ตั้งครรภ์มีความรู้ ทักษะในการดูแลตนเองและทารกในครรภ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2567 00:00 น.