โครงการตั้งครรภ์คุณภาพเพื่อมารดาและทารกในครรภ์ตำบลสะกำ ประจำปี 2567
ชื่อโครงการ | โครงการตั้งครรภ์คุณภาพเพื่อมารดาและทารกในครรภ์ตำบลสะกำ ประจำปี 2567 |
รหัสโครงการ | 67-l3007-01-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.สะกำ |
วันที่อนุมัติ | 27 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กันยายน 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2567 |
งบประมาณ | 22,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนาดียะห์ หัสมา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสะกำ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.72,101.462place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ก.ย. 2567 | 30 ก.ย. 2567 | 22,200.00 | |||
รวมงบประมาณ | 22,200.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 120 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การฝากครรภ์เป็นมาตรการหนึ่งในการบริบาลและเฝ้าระวังความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ไปรับบริการดูแลครรภ์จากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างน้อย 5 ครั้ง และควรไปฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการตายของมารดาและทารกในภาพรวม รวมทั้งมารดาได้รับการตระเตรียมในการเลี้ยงดูทารกที่จะเกิดมา ย่อมส่งผลต่อคุณภาพเด็ก ไทยในอนาคต จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการฝากครรภ์ ได้แก่ ระบบบริการ การคมนาคม การย้ายถิ่นที่อยู่ ค่าใช้จ่าย และภาระงาน ส่วนปัจจัยที่กระตุ้นให้ไปฝากครรภ์ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลและแรงสนับสนุนจากครอบครัว ในเขตตำบลสะกำพบว่าที่ผ่านมามีหญิงตั้งครรภ์...64...คน ได้รับการดูแลครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์เพียง....37.... คน และดูแลครบ 5 ครั้ง...39.....คน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกำเล็งเห็นความสำคัญเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์แต่เนิ่นและอย่างต่อเนื่องที่หน่วยบริการ ซึ่งย่อมเป็นผลดีแก่สุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกที่จะเกิดมา รวมถึงต่อความมั่นคง มั่งคั่งของประเทศในอนาคต จึงเสนอโครงการนี้เพื่อพิจารณา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์เพิ่มขึ้น หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 80 |
||
2 | หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์เพิ่มขึ้ หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 80 |
||
3 | ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมลดลง ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม น้อยกว่า ร้อยละ 10 |
1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 | |
1 ก.ย. 67 | ลงเยี่ยมบ้าน/ลงพื้นที่ | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.ชั้นเตรียมการ
1.1 ประชุมเจ้าหน้าที่ อสม. และแกนนำเพื่อค้นหาหญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อมาวางแผนร่วมกัน
1.2. เพิ่มรายชื่อรายใหม่หญิงวัยเจริญพันธ์ใน โปรแกรม HDC เพื่อสะดวกในการติดตาม
1.3 เพิ่มรายชื่อรายใหม่หญิงตั้งครรภ์ใน โปรแกรม HDC เพื่อสะดวกในการติดตาม
2.ขั้นดำเนินการ
2.1 จัดประชุมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ แก่อสม. แกนนำครอบครัวและกลุ่มเป้าหมาย ให้ความรู้และการปฏิบัติตัวเพื่อความปลอดภัยทั้งทั้งมารดาและทารก
2.2 บริการหญิงวัยเจริญพันธ์ตรวจคัดกรองการตั้งครรภ์ UPT test ทุกวันทำการ
2.3 บริการหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ทุกวันพฤหัสบดี
2.4 ติดตามมารดาในระยะตั้งครรภ์จนถึงคลอด
2.5 เยี่ยมหลังคลอด
2.6 ส่งต่อในรายที่ตรวจผิดปกติ
2.7 สรุปและประเมินโครงการเมื่อสิ้นโครงการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์เพิ่มขึ้น 2. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น 3. ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2567 10:57 น.