โครงการหนูน้อยสุขภาพดีโภชนาการสมส่วนห่างไกลโรคภัย
ชื่อโครงการ | โครงการหนูน้อยสุขภาพดีโภชนาการสมส่วนห่างไกลโรคภัย |
รหัสโครงการ | 67-l3007-03-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศพด.มัสยิดสะกำ |
วันที่อนุมัติ | 27 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กันยายน 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2567 |
งบประมาณ | 25,956.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวพารีสา สาเม๊าะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสะกำ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.72,101.462place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ก.ย. 2567 | 30 ก.ย. 2567 | 25,956.00 | |||
รวมงบประมาณ | 25,956.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 103 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภาวะโภชนาการเป็นดัชนีบ่งชี้ภาวะสุขภาพโดยรวมของเด็ก และเป็นต้นทุนสำคัญสำหรับการพัฒนาเด็กให้เจริญเติบโตเต็มตามศักยภาพ และการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้เด็กมีสุขภาพดี และมีเชาวน์ปัญญาที่พร้อมจะเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะ สะสมประสบการณ์เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ในพื้นที่ชายแดนที่มีปัญหาความไม่สงบ มักพบเด็กขาดสารอาหาร ถึงร้อยละ 35 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้(พัฒนาการเด็กปฐมวัย รากแก้วแห่งชีวิต) โภชนาการมีผลต่อการพัฒนาโครงสร้างของสมอง การสร้างฉนวนหุ้มเส้นประสาท และจำนวนปลายประสาทสัมผัส ภาวะขาดสารอาหาร จึงมีผลเสียต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา นอกจากนั้นภาวะขาดสารอาหารจะทำให้เด็กเคลื่อนไหวได้น้อยลง เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของเด็ก ส่งผลให้เด็กไม่สามารถพัฒนาระดับสติปัญญาได้เต็มศักยภาพของตน ช่วงวัยสำคัญที่สุดสำหรับเด็กคือช่วงนับจากในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 2-๕ ปีแรก เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการรุนแรงจนเตี้ยแคระแกร็นในช่วง 2 ขวบแรกส่งผลต่อระดับไอคิวเมื่อโตขึ้น และส่งผลต่อเนื่องต่อระดับไอคิว มีสมาธิสั้น ความสามารถในการเรียนรู้และสติปัญญาต่ำลง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กร่วมกับครอบครัวจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กอย่างจริงจัง โดยสนับสนุนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการเลี้ยงดูเด็กไทยให้เติบใหญ่แข็งแรง มีสุขภาพดี และมีเชาวน์ปัญญาที่พร้อมจะเรียนรู้ เด็กที่เป็นอนาคตของชาติจึงสมควรได้รับอาหารและโภชนาการที่ถูกต้องนับแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดาต่อเนื่องจนเติบใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงโอกาสทอง 3 ปีแรก
ดังนั้น การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เด็ก จึงเป็นภารกิจสำคัญที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรคำนึงถึง และร่วมมือประสานการดำเนินงานด้านการเฝ้าระวังป้องกันและส่งเสริมสุขภาพของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซึ่งเป็นสถานที่ ที่ผู้ปกครองให้ความไว้วางใจเอาเด็กมาเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จึงจำเป็นที่ผู้เกี่ยวข้องต้องส่งเสริมและสนับสนุนโครงการหนูน้อยสุขภาพดีโภชนาการสมส่วนห่างไกลโรคภัยขึ้น
ปัจจุบันศูนย์พัฒนาเด็กองค์การบริหารส่วนตำบลสะกำ ซึ่งครูผู้ดูแลเด็กได้ประเมินภาวะโภชนาการโดยใช้เกณฑ์น้ำหนักเทียบอายุ ส่วนสูงเทียบอายุ และน้ำหนักเทียบส่วนสูง ทางศูนย์พัฒนาเด็กองค์การบริหารส่วนตำบลสะกำ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กดังกล่าว ซึ่งผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก ให้เด็กเติบโตเต็มศักยภาพ มีสุขภาพดีและมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย พร้อมที่จะเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะ สะสมประสบการณ์เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ จึงจัดทำ โครงการหนูน้อยสุขภาพดีโภชนาการสมส่วนห่างไกลโรค ประจำปี 2567 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และลดปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพัฒนาการเด็ก
|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 103 | 25,956.00 | 0 | 0.00 | 25,956.00 | |
11 ก.ย. 67 | ส่งเสริมการโภชนาการอาหาร | 103 | 25,956.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 103 | 25,956.00 | 0 | 0.00 | 25,956.00 |
- ค้นหาปัญหาจากรายงานภาวะโภชนาการเด็กและสอบถามข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง 2. จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสะกำ 3.จัดทำคำสั่งและประชุมคณะทำงานเพื่อมอบหมายงาน 4. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ - จัดทำอาหารมื้อเช้าเพื่อเสริมสร้างภาวะโภชนาการเด็กทุกคน 5.ติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน
- ครูผู้ดูแลเด็กผู้ที่รับผิดชอบที่เข้าร่วมโครงการ สามารถปฏิบัติตนในการส่งเสริมสุขภาพและดูแลภาวะโภชนาการเด็กได้อย่างถูกวิธี
- เด็กมีสุขภาพที่ดีขึ้นและมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยได้ตามเกณฑ์อายุ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2567 11:52 น.